ตัวตน ชาร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ หรือคนทั่วไปเรียกกันติดปากว่า มงแต็สกีเยอ เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา เป็นเจ้าของทฤษฎี การแบ่งแยกอำนาจ พูดถึงการปกครองสมัยใหม่และการใช้รัฐธรรมนูญในหลายประเทศ เป็นผู้ให้คำจำกัดความ ระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ คนที่ร่ำเรียนทฤษฎีการเมืองคงท่องจำทฤษฎี มงแต็สกีเยอ ในยุคศตวรรษที่ 18 ได้ขึ้นใจ นอกจากทฤษฎีของ อริสโตเติล โทมัส ฮอบส์ พอลิเบียส เรอเน เดการ์ต จอห์น ล็อก ที่เป็นนักปรัชญาทางการเมืองคนสำคัญ
มงแต็สกีเยอ เกิดในปี ค.ศ.1689 การวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีการเมืองที่นำเอาการเปลี่ยนแปลงการปกครองของโรมันจาก สาธารณรัฐไปสู่จักรวรรดิ ที่ มงแต็สกีเยอ โดยตั้งข้อสังเกตว่า จูเลียส ซีซาร์ และปอมเปย์ ไม่ได้กระตือรือร้นจะช่วงชิงอำนาจ จากรัฐบาล สาธารณรัฐ ต้องมีบุคคลผู้อื่นมากระทำการแทน ชี้ให้เห็นว่าต้นเหตุของการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เกิดจาก จูเลียส ซีซาร์ และปอมเปย์ แต่เกิดเพราะความทะเยอทะยานของชาวโรมันเอง
มงแต็สกีเยอ มองรูปแบบอำนาจของรัฐเป็น 2 แบบคืออำนาจอธิปไตยและอำนาจบริหารรัฐกิจ ที่ประกอบด้วย อำนาจ บริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ โดยอำนาจจะต้องแยกออกจากกันและเป็นอิสระ ซึ่งกลายเป็นหลักการของ ระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบัน แต่ในยุคนั้นมองว่า มงแต็สกีเยอ มีแนวคิดหัวรุนแรงและเท่ากับเป็นการล้มล้างการปกครองของฝรั่งเศส เนื่องจาก มงแต็สกีเยอ ได้ออกแบบรูปแบบการปกครองเป็น 3 แบบคือ ราชาธิปไตย สาธารณรัฐ และเผด็จการ
โดย มงแต็สกีเยอ ได้มองว่า สาธารณรัฐ หรือรัฐบาลอิสระ จะขึ้นอยู่กับการเตรียมการทางกฎหมายอันเปราะบาง ตามเนื้อหาของ จิตวิญญาณแห่งกฎหมาย จากการอภิปรายวิพากษ์วิจารณ์ ประเทศอังกฤษ ที่ เสรีภาพอยู่ได้ด้วยการถ่วงดุลอำนาจ ซึ่งนำไปสู่คำพูดที่ว่า ไม่มีความเลวร้ายใดที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือในนามของกระบวนการยุติธรรม นั่นเอง
...
วันนี้ อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะหนีไปอยู่ที่ไหนอย่างไร ไม่มีใครรู้จริง เดากันไปคนละทางสองทาง ซึ่งสาระสำคัญไม่ใช่อยู่ที่ว่า อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ไปอยู่ที่ไหนหรือใครพาหนี
แต่อยู่ที่ว่าอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ต้องหนีไปเพราะอะไร เป็นโจทย์ที่น่าคิดมากกว่า อย่างไรก็ตาม กระบวนการยุติธรรม ถือว่า เป็นที่พึ่งสุดท้ายของสังคม เพราะฉะนั้น กระบวนการยุติธรรมจึงต้องได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธาจากสังคม เช่นกัน
ย้อนไปในอดีต หลังการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 ถ้าทักษิณ ชินวัตร ไม่กลับมาเมืองไทยหลังจากที่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งนั้น ถ้าหลังจากการยึดอำนาจเมื่อปี 2557 แล้ว อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์เดินทางออกนอกประเทศ เช่นเดียวกับผู้นำรัฐบาลทุกรัฐบาลที่ต้องหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราว สถานการณ์บ้านเมืองวันนี้จะเป็นอย่างไรคงตอบยาก แต่อย่างน้อยๆการถอยของอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์วันนี้ ก็ทำให้รัฐบาล คสช.โล่งใจไปได้อีกเปลาะ.
หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th