คลื่นลูกใหม่น่าจับตามอง พิร ศรีวิกรม์ มีทั้งดีกรีและความสามารถที่โดดเด่น พร้อมที่จะนำวิสัยทัศน์คนรุ่นใหม่มาช่วยขยายอาณาจักรธุรกิจที่ครอบครัวก่อตั้งให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพรมในระดับสากลและพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

พิร ศรีวิกรม์ ทายาทของ ผศ.พิมล ศรีวิกรม์ นักธุรกิจแถวหน้าและประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ได้นำความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยงานธุรกิจที่ครอบครัวก่อตั้งขึ้นคือ บริษัท อุตสาหกรรมพรมไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันคือ บริษัท ทีซีเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TCM Corporation Plc.) ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายพรมแห่งแรกในประเทศไทย ในตำแหน่ง Non-Executive Director ที่ TCM Corporation Plc. ก่อนมานั่งเก้าอี้นี้ “คุณพิพ พิร ศรีวิกรม์” มีดีกรีและประวัติการทำงานที่ไม่ธรรมดา โดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมสูงสุด จาก The Wharton School, University of Pennsylvania ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านการเงินและการบริหารธุรกิจของสหรัฐฯ เคยทำงานทั้งองค์กรใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งที่ The Boston Consulting Group (BCG) ในฟิลาเดลเฟียและนิวยอร์ก ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชื่อดังของสหรัฐฯ โดยได้ทำงานในโปรเจกต์ที่หลากหลาย ตั้งแต่การวางกลยุทธ์ให้กับบริษัทยาไปจนถึงการศึกษาดีลเข้าซื้อกิจการของธุรกิจซอฟต์แวร์ให้กับนักลงทุนด้านเทคโนโลยี และได้เข้าร่วมงานเป็นมือขวาให้กับซีอีโอของบริษัท Ever Medical Technology ประเทศไทยในตำแหน่ง Chief of Staff ซึ่งเป็นบริษัทที่พัฒนาซอฟต์แวร์ดูแลจัดการข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยให้กับโรงพยาบาลชั้นนำโดยใช้เทคโนโลยี AI

...

ปัจจุบัน คุณพิพ ในฐานะผู้บริหาร TCM Corporation Plc. บอกเล่าถึงบทบาทการทำงานของตนว่า มีบทบาทในการสนับสนุนและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและตอบสนองความต้องการของตลาด โดยมีมุมมองการบริหารจัดการโดยให้ความสำคัญกับ 3 ด้านหลัก ได้แก่ Operations คือการดำเนินธุรกิจในแต่ละวันให้เป็นไปตามเป้าหมาย Organizational Structure หรือการจัดโครงสร้างองค์กรให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจอย่างราบรื่น และสุดท้าย Capital Allocation หรือการจัดสรรเงินทุน เป็นบทบาทที่สำคัญที่สุดของคณะผู้บริหารระดับสูงและคณะกรรมการ

“ผมมองว่าโครงสร้างองค์กรที่ดี ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมและกำหนดแรงจูงใจที่เหมาะสม เมื่อแรงจูงใจและเป้าหมายของบริษัทเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทุกอย่างก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การจัดสรรเงินทุนก็เป็นภารกิจที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่มีผลโดยตรงต่อมูลค่าของผู้ถือหุ้น ผมจึงอยากให้ความสำคัญกับการพิจารณาและวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลในการเลือกลงทุนของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนเพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแบรนด์หรือในด้านอื่นๆ ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ อย่างละเอียดต่อไป หลักการทำงานของผมคือความจริงใจ ผมไม่ชอบทำเป็นว่ารู้ในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ ผมชอบตั้งคำถามแบบเบสิกเพื่อทบทวนความเข้าใจใน “First Principles” ซึ่งจะทำให้ผมมั่นใจในการต่อยอดสิ่งใหม่ๆ ได้”... วิสัยทัศน์ของผู้บริหารหนุ่มไฟแรงคนนี้.

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่