ข้อมูลจากศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ส่งสัญญาณแนวโน้มการเพิ่มสถิติตัวเลขอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์จะสูงขึ้นในปี 2567
พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.ยอมรับว่า แก้ปัญหาและการรับมือทำได้ยาก แต่ถือเป็นงานท้าทายของตำรวจยุคใหม่
เนื่องจากความทันสมัยของเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการกระทำความผิด และการสืบสวนจับกุมเกิดจากปัญหาแหล่งสถานที่ในการกระทำผิดมักอยู่ตามตะเข็บชายแดนประเทศเพื่อนบ้านที่มีความขัดแย้ง
บางแห่งอยู่ภายใต้ อิทธิพลของกองกำลังติดอาวุธ เช่นที่เล่าก์ก่าย ประเทศเมียนมา ทำให้ยากต่อการบังคับใช้กฎหมาย
ขณะที่กลุ่มสมาชิกในองค์กรอาชญากรรมมาจากหลากหลายแห่ง หลายประเทศ ลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
มีคนจีนเป็น “นายทุนหนุนหลัง”
ประเด็นสำคัญสุดท้าย คือ ข้อจำกัดด้านกฎหมาย เรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องใช้ความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงข้อจำกัดที่ไม่สามารถเอาผิดกับวิธีการกระทำผิดที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆได้ทัน เช่น Sim box, Voip (Voice over IP การโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต)
อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.จิรภพมองว่า แนวทางแก้ไข และรับมือกับอาชญากรรมต่างๆทำได้ หากจัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการ” รวมผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ธนาคาร (Banking Sectors) ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ (Telecom Company or TelCo) ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) กสทช. และเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เพื่อการประสานงานและรวม databases แชร์ข้อมูลที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ.
สหบาท
คลิกอ่านคอลัมน์ "ส่องตำรวจ" เพิ่มเติม
...