โครงการค้นหาดาวเคราะห์ที่ชื่อ “อีคลิปซิง อัลตรา–คูล สตาร์ส” (EClipsing ULtra–cOOl Stars หรือ SPECULOOS) มีเป้าหมายหาดาวเคราะห์นอกระบบที่อาจเอื้อให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ได้ใช้เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ระบบหุ่นยนต์ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ 4 ตัวของหอดูดาว SPECULOOS–South Observatory (SSO) ในชิลี, อาร์ทีมิส (Artemis) ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ตัวแรกของ SPECULOOS–North Observatory (SNO) บนเกาะเตเนรีเฟ ในสเปน และกล้องโทรทรรศน์ SAINT–EX ในหอดูดาว San Pedro Martir Observator ในเม็กซิโก จนค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะขนาดเท่าโลกดวงใหม่

ดาวเคราะห์นอกระบบที่มีขนาดเท่าโลกดวงนี้กำลังโคจรรอบดาวแคระเย็นจัด ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเพียง 54.6 ปีแสง โดยส่วนของดาวแคระเย็นมีมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 10 เท่า อายุราว 6,600 ล้านปี

ทีมวิจัยนำโดยนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลีจ ในเบลเยียม เผยตรวจพบสัญญาณคล้ายการผ่านหน้าในเส้นโค้งแสงของภารกิจ SPECULOOS-3 จนรู้ได้ว่าสัญญาณนี้เกิดจากดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะขนาดเท่าโลกดาวเคราะห์นอกระบบดวงดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า SPECULOOS-3 b มีรัศมีประมาณ 0.977 เท่าของรัศมีโลก โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ทุกๆ 17.28 ชั่วโมง มวลและองค์ประกอบของ SPECULOOS-3 b ยังไม่รู้แน่ชัด นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่ามันมีองค์ประกอบที่เป็นหิน คาดว่ามวลอยู่ที่ราวๆ 0.93 เท่าของมวลโลก.

Credit : NASA/JPL-Caltech

...

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่