การสร้างระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในอดีตขึ้นใหม่นับเป็นหนึ่งในความพยายามของนักวิจัยที่ศึกษาด้านธรณีวิทยา เช่น งานวิจัยที่ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับยุคออร์โดวิเชียนอันเป็นธรณีกาลยุคที่ 2 ของมหายุคพาลีโอโซอิก ซึ่งทำงานกันในโมร็อกโก และมีการทำภาคสนาม 15 วันในพื้นที่ทะเลทรายของประเทศนี้ 2–3 ครั้งต่อปี
เมื่อเร็วๆนี้ โครงการวิจัยที่ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซ แห่งมาดริด และสถาบันธรณีศาสตร์ ในสเปน ได้ระบุถึงหนอนทะเลหลายชนิดจากมหายุคพาลีโอโซอิกหรือออร์โดวิเชียนเมื่อ 455 ล้านปีก่อน โดยพบใน Tafilalt Biota พื้นที่ที่เป็นระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตในโมร็อกโก ซากฟอสซิลหนอนทะเลพวกนี้สอดคล้องกับประเภทและสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อ Anguiscolex africanus และอีกสายพันธุ์ใหม่คือ Wronascolex superstes ทีมวิจัยเผยว่า หนอนทะเล Palaeoscolecids เหล่านี้หาได้ยากในมหายุคพาลีโอโซอิกหรือออร์โดวิเชียน แม้พวกมันจะอาศัยอยู่ในทะเลทั่วโลก ส่วนซากของหนอนที่พบในโมร็อกโก เป็นลักษณะของเปลือกชั้นนอกของตัวหนอน ปกคลุมด้วย phosphatic micros clerites เรียงกันเป็นวงต่อเนื่องกัน
นอกจากนี้ นักวิจัยได้ให้ข้อสรุปอีกอย่างก็คือความใหญ่โต 3 หนอนทะเลที่พบใน Tafilalt Biota มีขนาดใหญ่กว่า Palaeoscolecids ที่พบในออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และตอนกลางจนถึงตะวันตกของยุโรป ถึง 2-3 เท่า สิ่งนี้อาจเชื่อมโยงว่าดินแดนที่เป็นโมร็อกโกในอดีต ตั้งอยู่ใกล้ขั้วโลกใต้อย่างมากในยุคออร์โดวิเชียน.
(Credit : Universidad Complutense de Madrid)