มีงานวิจัยที่ก่อเกิดข้อสงสัยมานานเกี่ยวกับแนวคิดที่ว่า ความเสถียรของสภาพอากาศของโลกในช่วงหลายสิบถึงหลายร้อยล้านปีนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความสมดุลระหว่างสภาพดิน ฟ้า อากาศของพื้นทะเลและโครงสร้างภายในของทวีป ทว่าเมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีเคมีแห่งมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ในอังกฤษ ก็ได้ไขความกระจ่างเรื่องดังกล่าว

การคลี่คลายความซับซ้อนในเรื่องนี้ ทีมวิจัยจึงได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า “เอิร์ธ เน็ตเวิร์ก” (Earth Network) ซึ่งรวมเอาอัลกอริธึมการเรียนรู้ด้วยเครื่องและการสร้างแผ่นเปลือกโลกขึ้นใหม่ สิ่งนี้ทำให้ทีมสามารถระบุปฏิสัมพันธ์ที่โดดเด่นภายในระบบการทำงานของโลกและวิธีทั้งหมดพัฒนาไปตามกาลเวลา ทีมวิจัยพบว่าเทือกเขาที่มีภูเขาไฟมีบทบาทที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดของความรุนแรงด้านสภาพดิน ฟ้า อากาศ ในช่วง 400 ล้านปีที่ผ่านมา ปัจจุบันประกอบด้วยกลุ่มภูเขาไฟในเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ และภูเขาไฟแคสเคดในสหรัฐอเมริกา ภูเขาไฟเหล่านี้มีลักษณะของการสึกกร่อนสูงและเร็วที่สุดในโลก เนื่องจากหินภูเขาไฟแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยและมีปฏิกิริยาทางเคมีทำให้ผุพังอย่างรวดเร็วและไหลลงสู่มหาสมุทร

ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ในด้านหนึ่งภูเขาไฟเหล่านี้จะปั๊มคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปจำนวนมาก จนทำให้เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ ในทางกลับกัน ภูเขาไฟก็จะช่วยขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านกระบวนการทางธรรมชาติอันเนื่องจากสภาพดิน ฟ้า อากาศและสิ่งมีชีวิตเช่นกัน.