ทัวทารา (tuatara) เป็นสัตว์เลื้อยคลานหายากกลุ่มสุดท้ายที่ยังมีชีวิตอยู่นับตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ครองโลก ทว่าตำแหน่งวงศ์ทัวทารา (tuatara) บนต้นไม้แห่งชีวิต (the tree of life) หรือการแสดงสัญลักษณ์วัฏจักรของธรรมชาติกลับ เป็นเรื่องที่นักวิชาการถกเถียงกันมานาน มีงานวิจัยระบุว่าวงศ์ทัวทารานั้นเกี่ยวข้องกับกิ้งก่าและงู แต่ดูเหมือนว่าพวกมันจะแยกออกเป็นสายพันธุ์ของตนเองมานานประมาณ 250 ล้านปีที่แล้ว

ล่าสุด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอดิเลด พิพิธภัณฑ์เซาท์ ออสเตรเลีย และมหาวิทยาลัยโอทาโก ในนิวซีแลนด์ ได้จัดลำดับจีโนมหรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของทัวทารา เผยถึงโครงสร้างผิดปกติและน่าทึ่ง ว่าจีโนมทัวทารามีคุณสมบัติร่วมกันกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ตุ่นปากเป็ด ตัวอีคิดนา หรือตัวกินมดหนาม พบว่าลำดับดีเอ็นเอบางส่วนมีลักษณะ “การกระโดดของยีน” ซึ่งที่พบในทัวทารานั้น มีความคล้ายคลึงกับที่พบในตุ่นปากเป็ดมากที่สุด ซึ่งจีโนมทัวทารามีการกระโดดของยีนประมาณ 4% ที่พบได้ทั่วไปในสัตว์เลื้อยคลาน ประมาณ 10% พบในตุ่นปากเป็ดและอีคิดนา และที่พบน้อยกว่า 1% ก็ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นตัว เช่นมนุษย์

นักวิจัยเผยว่านี่เป็นสิ่งที่ผิดปกติอย่างมาก ชี้ให้เห็นว่าจีโนมของทัวทาราเป็นการผสมผสานระหว่างส่วนประกอบของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลื้อยคลานที่แปลกประหลาด การแบ่งปันองค์ประกอบซ้ำๆ ในสัตว์กลุ่มโมโนทรีม (Monotremes) อย่างตุ่นปากเป็ด ตัวกินมดมีหนาม และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นการบ่งบอกที่ชัดเจนถึงการมีบรรพบุรุษร่วมกันแม้ว่าจะนานมาแล้วก็ตาม.

โปรย

Credit : Nicola Nelson