(Credit : CC0 Public Domain)

นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่หรือที่เรียกว่า K-Pg (Cretaceous-Paleogene) หรือยุคครีเตเชียส-พาลีโอจีน เมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว และกวาดล้างไดโนเสาร์ไปจนสูญสิ้น เกิดขึ้นหลังจากดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนกับโลก แต่ก็มีนักวิจัยบางรายเชื่อว่าภูเขาไฟระเบิดมีส่วนในเหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เนื่องจากมีข้อบ่งชี้ว่าในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง ภูเขาไฟปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จำนวนมาก ที่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเกิดกรดในโลก

แต่งานวิจัยล่าสุดของผู้เชี่ยวชาญธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยเยล ในสหรัฐอเมริกา ได้โต้แย้งว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่ในอินเดียตรงที่ราบสูงเดกกัน (Deccan Traps) เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ K-Pg ดังนั้นจึงไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ทีมของเฉิงได้เน้นไปที่ช่วงเวลาของการปะทุของลาวามากกว่าการปล่อยก๊าซของภูเขาไฟ โดยใช้ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลทางทะเลมาเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลกและไอโซโทปคาร์บอน ซึ่งไอโซโทปเป็นอะตอมที่มีจำนวนนิวตรอนสูงกว่าหรือต่ำกว่าปกติ

ทีมวิจัยสรุปว่าการปล่อยก๊าซส่วนใหญ่เกิดขึ้นได้ดีก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยจะพุ่งกระทบกับโลก นั่นหมายถึงว่าดาวเคราะห์น้อยเป็นตัวการเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่.