ทีมนักวิจัยนานาชาติรายงานลงวารสารวิทยาศาสตร์ Royal Society Open Science ถึงการพบหลักฐานที่บ่งบอกว่าสัตว์กินเนื้อยุคโบราณชื่อว่า Vjushkovia triplicostata มีขนาดศีรษะใหญ่กว่าศีรษะไดโนเสาร์ หลังจากนำซาก ของ Vjushkovia triplicostata มาตรวจสอบอีกครั้ง ทำให้นักวิจัยได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสัตว์ขนาดใหญ่ที่เหมือนมังกรโคโมโดในปัจจุบัน
Vjushkovia triplicostata เป็นสมาชิกของตระกูลอิริทโธรซูชิดส์ (Erythrosuchids) หรือ “จระเข้แดง” คือกลุ่มอาร์โคซอโรมอฟส์ (Archosauromorphs) หนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บนบก ซึ่งซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของอิริทโธรซูชิดส์ คือการ์ไจอาเนียร์ (Garjainia) ที่รู้จักกันดีก็มีอยู่ 2 ชนิดคือ การ์ไจอาเนียร์ พริมา (Garjainia prima) พบได้ในแอฟริกาใต้ และ Vjushkovia triplicostata พบในรัสเซีย
ในฐานะที่ Vjushkovia triplicostata อยู่ในกลุ่มอิริทโธรซูชิดส์ มีร่างกายยาวและฟันแหลมคมขนาดใหญ่ กลุ่มนี้มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาหลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เฟอร์เมียมไทรแอสซิก เพียงไม่กี่ล้านปีก่อนไดโนเสาร์มาถึง พวกมันจึงเป็นนักล่าที่อยู่บนสุดของวัฏจักร นักวิจัยพบว่าเมื่อนำมารวมกันทั้ง 2 ชนิดมีศีรษะใหญ่ที่น่าจะมาพร้อมกับกล้ามเนื้อขนาดใหญ่เท่าๆกันเป็นประโยชน์ในการจับเหยื่อ และยังตั้งข้อสังเกตว่าอาร์โคซอโรมอฟส์โดยทั่วไปมีแนวโน้มที่จะมีศีรษะขนาดใหญ่เกินไปเมื่อเทียบกับขนาดร่างกายของพวกมัน.
...