(Credit : ESA/Hubble & NASA)
กระจุกดาว (Star clusters) เป็นกลุ่มดาวมากถึง 1 ล้านดวงที่มีระบบปฏิสัมพันธ์และมีแรงโน้มถ่วงร่วมกันระหว่างดวงดาว โดยจะเปลี่ยนโครงสร้างเมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งนักดาราศาสตร์เรียกว่าวิวัฒนาการเคลื่อนที่ ปฏิกิริยาดังกล่าวจะทำให้ดาวมวลมากมักจะจมลงบริเวณใจกลางของกระจุกดาว ขณะที่ดาวมวลต่ำสามารถหนีออกจากระบบได้
ล่าสุด การสำรวจใหม่จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา และองค์การอวกาศยุโรป หรืออีเอสเอ ได้สำรวจกาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่หรือแอลเอ็มซี (Large Magellanic Cloud-LMC) กาแล็กซีบริวารของทางช้างเผือก ตั้งอยู่ห่างโลกเกือบ 160,000 ปีแสง ได้เพิ่มความเข้าใจแก่นักดาราศาสตร์ว่าขนาดของกระจุกดาวในแอลเอ็มซีนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างไร เพราะมีงานวิจัยก่อนหน้านี้เสนอว่าระบบในกระจุกดาวนั้นมีแนวโน้มจะมีขนาดกะทัดรัดและหนาแน่นเมื่อมีการก่อตัว ก่อนที่จะขยายออกไปตามเวลาเพื่อให้กลายเป็นกระจุกดาวขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทว่าอายุตามลำดับเหตุการณ์เพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้อธิบายเรื่องราวการก่อตัวและวิวัฒนาการของกระจุกดาวได้สมบูรณ์พอ

...
กระจุกดาวทั้งหมดในแอลเอ็มซีถูกพบว่าเป็นที่อาศัยของดาวฤกษ์ชนิดพิเศษที่เรียกว่า “ดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน” (blue straggler) ซึ่งดาวฤกษ์ชนิดนี้จะได้รับเชื้อเพลิงพิเศษที่ทำให้มีพลังและสว่างขึ้น สิ่งนี้เกิดขึ้นได้หากดาวดวงหนึ่งดึงสสารออกจากดาวใกล้เคียงหรือเกิดชนกันเอง การค้นพบนี้น่าจะช่วยในการอ่านกลุ่มดาวที่สังเกตเห็นได้ รวมถึงอาจเฉลยความเป็นมาในการก่อตัวและวิวัฒนาการของกระจุกดาวในกาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ได้.