สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อัปเดตปรากฏการณ์ท้องฟ้า เดือนมิถุนายน 2567 ปีนี้ "วันครีษมายัน" ตรงกับวันที่ 21 มิ.ย. ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

วันที่ 2 มิถุนายน 2567 มีรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เผยปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่น่าสนใจ เดือนมิถุนายน 2567 มีดังนี้

  • 3 มิถุนายน ดาวเคียงเดือน : ดาวอังคารเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 03.00 น. จนถึงรุ่งเช้า
  • 9 มิถุนายน ดาวเคียงเดือน : ดาวพอลลักซ์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึง 20.40 น.
  • 10 มิถุนายน ดาวเคียงเดือน : กระจุกดาวรวงผึ้งเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึง 21.30 น.
  • 12 มิถุนายน ดาวเคียงเดือน : ดาวเรกูลัสเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึง 23.00 น.
  • คืน 16 ถึงเช้า 17 มิถุนายน : ดาวเคียงเดือน ดาวสไปกาเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึง 02.00 น. ของวันที่ 17 มิถุนายน
  • 20 มิถุนายน ดาวเคียงเดือน : ดาวแอนทาเรสเคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้า
  • 27 มิถุนายน ดาวเคียงเดือน : ดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์ สังเกตได้ทางทิศตะวันออก เวลาประมาณ 23.40 น. จนถึงรุ่งเช้า
  • 21 มิถุนายน วันครีษมายัน (Summer Solstice) ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี

...


ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ