เน้นผลงานวิจัยนวัตกรรมใหม่คอนเซปต์ สีเหลือง

สร้างเวทีพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยของคนไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ได้ร่วมกับหน่วยงานในระบบวิจัย จัดงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๒” ที่โรงแรมเซนทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อเร็วๆนี้ โดยปีนี้มีผลงานวิจัยจากทั่วประเทศมาจัดแสดงกว่า 600 ผลงาน และงานวิจัยส่วนมากน้อมนำปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ในการคิดค้นเพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นให้มั่นคง ยั่งยืน และเนื่องในวาระอัน เป็นมงคลที่พสกนิกรตั้งตารอคอย ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร จึงมีผลงานวิจัยนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในคอนเซปต์ “สีเหลือง”

ผลงานแรกเป็นผ้าทอสีเหลืองอร่ามลาย “เหลืองเตาปูน” จากเลอ คอสตูม บ้านปึก บาย มูพา ผลงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผ้าทอบ้านปึก สินค้าประจำบ้านปึก ต.อ่างศิลา จ.ชลบุรี สร้างสรรค์ชุดสวยในคอลเลกชัน Classy Temp Classic โดยนำผ้าลาย เหลือง-เขียวเตาปูน ลายผ้าพิมพ์ที่คิดค้นใหม่ ได้แรงบันดาลใจจากการศึกษาลวดลายจากจิตรกรรมฝาผนัง และลายเครื่องปั้นดินเผาที่พบในวัดเตาปูน วัดเก่าแก่ของบ้านปึกที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ขณะที่ คณะคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก นำผ้าทอลายพื้นเมืองพิษณุโลก “ลายดอกปีบ” มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋า และของที่ระลึกเพื่อให้แบบทันสมัยและถูกใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และยังมีเครื่องประดับงานวิจัยของ อ.นริศรา สารีบุตร สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เจ้าของผลงานวิจัย “การพัฒนาเครื่องประดับทองเหลืองต้นแบบจากเอกลักษณ์ท้องถิ่น ศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมทอง เหลืองบ้านปะอาว ต.ปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี”

...

นอกจากนี้ ยังมีการนำนวัตกรรมใหม่ “3D-CG เทคโนโลยีการออกแบบสิ่งทอด้วยโปรแกรม 3 มิติ” ที่จะช่วยให้ผ้าทอผืนสวย
ถูกตัดเย็บออกมาได้อย่างสวยงาม อ.นิติ นิมาลา สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เล่าว่า 3D-CG เทคโนโลยี จะช่วยให้นักออกแบบสามารถมองเห็นภาพของชุดเสื้อผ้าที่ออกแบบในรูปแบบสามมิติ ช่วยให้การวางลายผ้าทำได้อย่างสวยงาม เมื่อนำไปตัดเย็บจริงจะทำให้เกิดความสูญเสียของลายและเนื้อผ้าน้อยที่สุด หรือไม่เกิดขึ้นเลย และชุดที่ได้ก็จะสวยงาม ประณีต.