จะไปนอนพักกันที่สวนอ้อย จ.กาญจนบุรี ก่อนเดินทาง ราจีฟ (Rajiv) คนไทยเชื้อสายอินเดียบอกกับจูเลีย (Julia) เพื่อนร่วมสถาบันมหาวิทยาลัยลอนดอนว่า คุณจะลำบากหน่อยนะ เพราะที่สวนอ้อยของพ่อแม่ผมไม่มีน้ำประปา We use well water. เราใช้ ‘น้ำบ่อ’ จูเลียบอกว่า เป็นน้ำที่ต่อท่อยาวๆลงไปใต้ดินใช่ไหม ราจีฟบอก ไม่ใช่ ที่คุณพูดนั่นมัน ‘น้ำบาดาล’ หรือ artesian well water แต่ก็ได้ข่าวว่าปีหน้าในหมู่บ้านแห่งนี้จะมี piped water หรือ ‘น้ำประปา’ แล้วนะ

ผ่านทุ่งนา เห็นควายหลายตัวกำลังยืนเคี้ยวเอื้อง ราจีฟจึงพูดว่า Buffaloes are chewing their cud. ผู้อ่านท่านครับ เอื้องหรือเคี้ยวเอื้อง ภาษาอังกฤษคือ to chew the cud

จูเลียถามว่า cud คืออะไร ฉันไม่รู้จัก ราจีฟอธิบายว่า Cud is food that cattle bring back from the stomach into the mouth to chew again. เอื้องคืออาหารที่วัวและควายนำออกมาจากกระเพาะมาพักไว้ในปากเพื่อจะเคี้ยวใหม่ จูเลียบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ฉันจะสอนหมาที่บ้านให้หัดเคี้ยวเอื้องบ้าง ราจีฟบอกว่า โอย หมาเคี้ยวเอื้องไม่ได้หรอก Some animals don’t chew their cud. สัตว์บางอย่างไม่เคี้ยวเอื้อง

สัตว์ที่เคี้ยวเอื้องมักจะเป็นพวกทีี่มี hoof หรือ ‘กีบ’ คำนี้นอกจากเป็นคำนามแล้ว ก็เป็นคำกริยาได้ด้วยครับ สื่อถึง ‘เดิน’ Let us hoof it. เรามาเดินกันเถอะ ถ้าจะใช้เป็นคำนามก็เช่น Let’s us beat the hoof. มีความหมายเช่นเดียวกันครับ.

นิติการุณย์ มิ่งรุจิราลัย
pasalok1998@gmail.com