เพลสิโอซอร์ (Plesiosaurs) สัตว์เลื้อยคลานทางทะเล เคยถูกเข้าใจผิดว่าเป็นไดโนเสาร์ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรเมื่อช่วง 200-65 ล้านปีที่แล้ว ล่าสุด นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยการศึกษาทางไกลแห่งชาติสเปน เผยการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิล (fossil) สะสมอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในเมืองมอเรลลา จังหวัดกัสเตยอน ของสเปน โดยพบว่ามีกระดูกสันหลังของเพลสิโอซอร์ชนิดหนึ่งที่ไม่เคยพบมาก่อน

นักบรรพชีวินวิทยาได้นำไปวิเคราะห์จนสามารถระบุได้ว่าซากฟอสซิลนี้เป็นเพลสิโอซอร์ชนิด leptocleidus มีชีวิตอยู่ในปลายยุคครีเตเชียสเมื่อราว 125 ล้านปีก่อนบนคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งในช่วงเวลานั้นแตกต่างจากทุกวันนี้น้ำตื้นแถบนี้เป็นถิ่นอาศัยของกลุ่มเพลสิโอซอร์ พวกมันมีหัวเล็กคอยาว หางสั้น ร่างกายคล้ายทรงกระบอก มีครีบขนาดใหญ่ แม้จะอยู่ร่วมกับไดโนเสาร์และสูญพันธุ์ไปพร้อมๆกัน แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องกัน

ซากเพลสิโอซอร์ที่พบในเมืองมอเรล-ลา นับว่าสำคัญต่อการบันทึกเกี่ยวกับยุคครีเตเชียสในคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่ง Leptocleidus มีความแปลกประหลาดมากเพราะขนาดยาวไม่เกิน 3 เมตร คอของมันค่อนข้างสั้น แตกต่างจากเพลสิโอซอร์ชนิดอื่นๆ.

ภาพ : Jose Antonio Penas