คำถาม 4 : พาราควอตตรวจไม่พบในอากาศและโมเลกุลใหญ่เกินกว่าจะเข้าไปในระบบทางเดินหายใจจริงหรือ? สหภาพยุโรปจัดกลุ่มพาราควอตเป็นสารที่อันตรายถึงตายถ้าสูดดม ตามที่ระบุไว้ว่า “Fatal if inhaled” (Hazard Classification 330; EC, 2008) รวมทั้งปรากฏข้อความที่แสดงถึงความเสี่ยงหรือเป็นอันตรายบนเคมีภัณฑ์ว่า “Very Toxic by Inhalation” (Risk Phrase 26) ตาม EU Directive 67/54 เช่นเดียวกับ EPA (1997) จัดพาราควอตเป็นสารที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันสูงจากการสูดดม อยู่ในกลุ่ม Category I (ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ และหลักฐานเชิงประจักษ์ ของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ตอน1))

แม้ว่าเอกสารจะระบุว่าละอองปกติจากการฉีดพ่นจริง (400-800 µm) ใหญ่เกินกว่าที่จะเป็นพิษแต่การกำหนดค่ามาตรฐานในอากาศแสดงว่าผ่านเข้าระบบทางเดินหายใจได้ และละอองพาราควอตจากผู้ฉีดพ่นด้วยมือจะถูกกักสะสมในจมูกซึ่งระคายเคืองต่อเยื่อเมือกจนบ่อยครั้งเกิดเป็นเลือดกำเดา และยังสามารถซึมผ่านเมือกเมื่อปริมาณมากพอก็จะเกิดความเป็นพิษทั่วร่างกาย (Wesseling et al., 1997)

คำถาม 5 : ทารกในครรภ์มีโอกาสได้รับพาราควอตจากแม่จริงหรือ? พาราควอตสามารถผ่านจากมารดาไปสู่ตัวอ่อนในครรภ์ ผลการวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตรวจพบการตกค้างของพาราควอตในซีรั่มทารกแรกเกิดและมารดาระหว่าง 17-20% และพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีความเสี่ยงรับสารพาราควอตมากกว่าคนทั่วไป 1.3 เท่า หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติการขุดดินในพื้นที่เกษตรมีความเสี่ยงในการตรวจพบพาราควอต คิดเป็น 6 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีการขุดดิน และหญิงตั้งครรภ์ที่ทำงานในพื้นที่เกษตรกรรมช่วง 6-9 เดือนของการตั้งครรภ์ พบพาราควอตตกค้างมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ทำงานถึง 5.4 เท่า และตรวจพบพาราควอตในขี้เทาเด็กทารกแรกเกิดสูงถึง 54.7% จากมารดา 53 คน ในขณะที่การวิจัยลักษณะเดียวกันในประเทศฟิลิปปินส์ตรวจพบพาราควอตในขี้เทาทารกเพียง 2 จาก 70 ตัวอย่าง (2.85%)

...

คำถาม 6 : ดินสามารถตรึงพาราควอตได้แน่นและไม่มีโอกาสปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและพืชผักจริงหรือไม่? ดินสามารถดูดซับ

พาราควอตได้ดี แต่เมื่อมีการใช้สารเคมีต่อเนื่องซ้ำๆหลายปี หรือมีการใช้ในปริมาณมากจะทำให้สารเคมีสะสมจนเกินสภาวะอิ่มตัวที่สารอินทรีย์ในดิน (organic matter) จะดูดซับได้ จะเกิดการคายซับเกิดขึ้น ทำให้พาราควอตถูกชะล้างออกจากดินไปสู่แหล่งน้ำ ส่งผลให้พืชดูดซับสารเคมีเหล่านี้ไปสะสมในลำต้นได้ และเกิดการสะสมของสารเคมีเหล่านี้ในสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศวิทยา (พวงรัตน์ และคณะ, 2555) การคายซับของสารพาราควอตจากดินสู่ลำน้ำในพื้นที่น่านและพิษณุโลกได้มีการรายงานโดยงานวิจัยของ ม.นเรศวร (Keochanh et al., 2018) และการคายซับพาราควอตจากตะกอนดินสู่ลำน้ำที่ปากพนัง นครศรีธรรมราช รายงานโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) (Noicharoen et al., 2012)

พาราควอตสามารถเข้าสู่รากพืชด้วยการแพร่ (passive diffusion) ตามกลไก carrier-mediated system เป็นการดูดซึมสารเคมีเข้าสู่พืชในรูปแบบของ active absorption ผ่านเยื่อเมมเบรน โดยมีโปรตีน กรดอะมิโนเป็นสารนำพาทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายพาราควอตและไกลโฟเสตจากรากไปเซลล์ต่างๆของพืช แต่กลไกนี้ฆ่าพืชไม่ตายแต่ทำให้เกิดการสะสมในพืช (Hart et al., 1992; Hart, 1993; Sterling, 1994) และไม่สามารถล้างออกได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ในงานวิจัยต่างประเทศยังพบอีกว่ามีพาราควอตตกค้างในอาหารแปรรูป เช่น แป้ง เบียร์ และอาหารเด็ก (Danezis et al., 2016) และงานวิจัยของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบการตกค้างของพาราควอตในสิ่งมีชีวิตที่เป็นอาหาร เช่น กบหนอง ปูนา หอยกาบน้ำจืด ปลากระมัง ซึ่งเป็นการได้รับพาราควอตจากสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอาหารแปรรูป เช่น น้ำปู หรือน้ำปู๋ เช่นกัน พาราควอต การศึกษาที่น่านพบในดิน 6.75-291.60 ไมโครกรัม/กก. และตะกอนดิน 7.95-214.60 ไมโครกรัม/กก. (พวงรัตน์ และคณะ, 2559) พบในน้ำประปาหมู่บ้านในทุกตัวอย่าง (21 ตัวอย่าง) ในช่วง 0.22-4.67 ไมโครกรัม/ลิตร พบในผักท้องถิ่น มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน Codex ในทุกตัวอย่างจาก 45 ตัวอย่าง พบในปลาเกินค่ามาตรฐาน Codex ในทุกตัวอย่างจาก 19 ตัวอย่าง ในช่วงค่า 8.50-189.25 ไมโครกรัม/กก.

พบในกบหนอง ปูนา ในพื้นที่เกษตร หอยกาบน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำ และปลากระมังในแม่น้ำน่านที่ อ.เวียงสา จ.น่าน โดยในปูนา กบหนอง และปลากระมัง มีค่าเกินมาตรฐาน Codex ทุกตัวอย่าง [ศิลปชัย (2554) ธงชัย, รชตะ, ภาณุพงศ์, อรสา (2555)]

ที่ลำพูน และลำปาง ในพื้นที่การเกษตรและในแหล่งน้ำมากกว่า 80% ของตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์ และตกค้างในดิน ความเข้มข้นสูงสุด 25.1 มก./กก. (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2560) ที่หนองบัวลำภู พบในน้ำประปาหมู่บ้านในทุกตัวอย่างที่ตรวจวัดในระดับความเข้มสูง มิลลิกรัม/ลิตร และตรวจพบในผักท้องถิ่นทุกตัวอย่าง (พวงรัตน์ วรางคณา และภาสกร, 2560)

หลายจังหวัดพบในผักผลไม้ในระดับเกินมาตรฐานสูงถึง 38 ตัวอย่างจาก 76 ตัวอย่างผักผลไม้ในโมเดิร์นเทรด (Thai PAN, 2560) ไกลโฟเสตที่น่าน พบในดิน 145.04-3,311.69 ไมโครกรัม/กก. และตะกอนดิน 132.65-3,913.86ไมโครกรัม/กก. (พวงรัตน์ และคณะ, 2559) พบในน้ำประปาหมู่บ้านในทุกตัวอย่าง (21 ตัวอย่าง) ในช่วง 3.09-54.12 ไมโครกรัม/ลิตร พบในผักท้องถิ่น มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน Codex จำนวน 17 ตัวอย่างจาก 45 ตัวอย่าง พบในปลามีค่าเกินค่ามาตรฐาน Codex ในทุกตัวอย่าง (19 ตัวอย่าง) ในช่วงค่า 113.96-9,613.34 ไมโครกรัม/กก. พบในกบหนอง ปูนา ในพื้นที่เกษตร หอยกาบน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำ และปลากระมังในแม่น้ำน่าน ที่อำเภอเวียงสา น่าน [ศิลปชัย (2554) ธงชัย, รชตะ, ภาณุพงศ์, อรสา (2555)]

หลายจังหวัดพบในผักผลไม้ในระดับเกินมาตรฐานสูงถึง 6 ตัวอย่าง จาก 76 ตัวอย่างผักผลไม้ในโมเดิร์นเทรด (Thai PAN, 2560) คลอร์ไพริฟอส ที่น่านพบในดิน ใน 51 ตัวอย่างจาก 54 ตัวอย่าง และตะกอนดิน 49 ตัวอย่างจาก 51 ตัวอย่าง (พวงรัตน์ และคณะ, 2559) พบในน้ำประปาหมู่บ้านใน 14 ตัวอย่างจาก 21 ตัวอย่าง

โดยมีค่าสูงสุด 0.73 ไมโครกรัม/ลิตร พบในผักท้องถิ่น มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐาน Codex จำนวน 40 ตัวอย่างจาก 45 ตัวอย่าง พบในปลามีค่าเกินค่ามาตรฐาน Codex ทุกตัวอย่าง (19 ตัวอย่าง) ในช่วงค่า 0.31-516.38 ไมโครกรัม/กก. ที่เพชรบูรณ์ ในน้ำอุปโภคบริโภคมีค่าอยู่ระหว่าง 0.8-20.2 ไมโครกรัม/ลิตร น้ำธรรมชาติมีค่าอยู่ระหว่าง 0.2-12.2 ไมโครกรัมต่อลิตร ในผักมีค่าความเข้มข้นของสารคลอร์ไพริฟอสอยู่ระหว่าง 0.0039-0.1521 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (วิระวรรณ และพวงรัตน์, 2559)

ลำพูนและลำปางพบในผักและผลไม้ทุกชนิด ซึ่งเมื่อคำนวณการบริโภคและปริมาณการตกค้างของสารเคมีในร่างกาย จากการประเมินความเสี่ยงด้วยการเปรียบเทียบค่าอ้างอิง (BMD10 chlorpyrifos/100) ที่ระดับ 14.8 ไมโครกรัม/กก. นํ้าหนักตัว/วัน (กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2560)


หมอดื้อ