อาจจะเป็นอีกครั้งหนึ่งหรือไม่ ที่พรรคเพื่อไทยอาจต้องผิดหวัง ไม่สามารถทำตามขึ้นค่าแรงงานขั้นตํ่า ตามคำสัญญาในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะมีองค์กรฝ่ายนายจ้างจากทั่วประเทศ ทั้งหอการค้าไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธุรกิจ รวม 87 องค์กร รวมตัวกันยื่นเอกสารคัดค้านต่อรัฐมนตรีแรงงาน
องค์กรภาคเอกชนต่างๆได้จัดให้มีการรับฟังของฝ่ายต่างๆ หลังจากที่เมื่อเร็วๆนี้ รัฐบาลประกาศจะขึ้นค่าแรงงาน ขั้นตํ่าเป็นวันละ 400 บาท พร้อมกันทั้งประเทศ ภาคเอกชนมีความกังวล เนื่องจากการขึ้นค่าแรงอาจกระทบเศรษฐกิจที่มีปัญหาอยู่มาก การปรับค่าแรงควรทำตาม ข้อเสนอของหลายฝ่าย
ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบายประชานิยมในหลายเรื่อง รวมทั้งสัญญาจะแจกเงินให้ผู้ที่อายุ 16 ปีทุกคน จำนวน 56 ล้านคน คนละ 1 หมื่นบาท และสัญญาจะขึ้น
ค่าแรงขั้นตํ่า จากวันละประมาณ 330 บาท เป็น 600 บาท แต่ไม่ได้ขึ้นในทันที
สัญญาของพรรคเพื่อไทย ระบุว่า จะทยอยเพิ่มค่าแรงเป็น 400 บาท จนถึง 600 บาท ภายใน 2–3 ปี จนถึงปี 2570 ที่อาจมีการเลือกตั้งคณะกรรมการไตรภาคีว่าด้วยค่าจ้าง ซึ่งประกอบด้วยผู้แทน 3 ฝ่าย คือฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้าง เคยมีมติให้ปรับค่าแรงเป็น 400 บาท ใน 10 จว.ท่องเที่ยว
เป็นมติที่ยังห่างไกลจากความต้องการของพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นเจ้าของนโยบายและแกนนำรัฐบาล ผลการสำรวจความเห็นประชาชนของนิด้าโพล พบว่า 44.50% เห็นด้วยกับการทยอยปรับทั่วประเทศ 25.34% ให้ปรับเท่ากันทั้งประเทศทันที 16.41% ไม่เห็นด้วยกับการปรับเป็น 400 บาท ภายในปีนี้
ไม่ทราบว่ารัฐบาลจะรับกระแสคัดค้านจากฝ่ายนายจ้างได้หรือไม่ จะต้องติดตามกันต่อไป หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 มีการรวมกันตั้งรัฐบาล 13 พรรค ที่ประกาศนโยบายยกระดับสิทธิของทุกอาชีพ ให้มีความเป็นธรรมในการจ้าง ทำให้ฝ่ายแรงงานมีความหวังว่าจะมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ที่มืดมิดมานาน
...
แต่ 13 พรรคที่ประกาศจะรวมกันจัดตั้งรัฐบาล ในช่วงแรกตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จ กลายเป็นรัฐบาลผสม ที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ หวังว่าคณะกรรมการไตรภาคีจะประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาค่าแรงขั้นตํ่า โดยยึดหลักการประสานผลประโยชน์ทุกฝ่าย หวังว่าจะมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์.
คลิกอ่านคอลัมน์ "บทบรรณาธิการ" เพิ่มเติม