ความน่าสนใจของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอนั้น

ประการแรกคือการเห็นชอบหลักการเกี่ยวกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (Anti-Corruption Education) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำหลักสูตรดังกล่าวไปพิจารณาปรับใช้กับกลุ่มเป้าหมาย

ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่ต้องนำหลักสูตรไปดำเนินการรับความเห็นของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยให้ประสานงานกับสำนักงาน ป.ป.ช. อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้

สำหรับภาระงบประมาณที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งไม่ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับไว้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ไปดำเนินการในโอกาสแรกก่อน สำหรับปีงบประมาณต่อๆไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

ประการที่สอง ให้ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน ก.พ. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือร่วมกับ สำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อพิจารณานำหลักสูตรนี้ไปปรับใช้ในโครงการฝึกอบรมหลักสูตรข้าราชการ บุคลากรภาครัฐ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่บรรจุใหม่

รวมทั้งให้พิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายของหลักสูตรโค้ชให้มีความชัดเจน โดยให้หมายความรวมถึงบุคลากรทางการศึกษา เช่น ครู อาจารย์ หรือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ทั้งในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรอุดมศึกษาด้วย

...

ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษาที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการถ่ายทอดความรู้หรือช่วยในการจัดการเรียนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการและรายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษาทราบเป็นระยะๆด้วย

นี่เป็นก้าวสำคัญสำหรับความพยายามในการต่อต้านการทุจริตด้วยการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว.

“ซี.12”