(ภาพ) พระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง สถานที่แรกที่ต้องไปกราบไหว้ ในการไปเฉลิมฉลอง จังหวัดแพร่ครบรอบการก่อตั้งเมือง 1,191 ปี ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.2562-1 ม.ค.2563.

จังหวัดแพร่ในอดีต เมืองแพร่เป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ การสร้างเมืองไม่มีจารึกในที่ใดที่หนึ่งโดยเฉพาะ การศึกษาเรื่องราวของเมืองแพร่ ต้องอาศัยหลักฐานของเมืองอื่น

เช่น พงศาวดารโยนก ตำนานเมืองเหนือ ตำนานการสร้างวัดพระธาตุลำปางหลวง และศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และตำนานอื่นๆ เช่น ตำนานพระธาตุช่อแฮ ตำนานวัดหลวง ซึ่งสอดคล้องกับตำนานวัดหลวงซึ่งเป็นวัดเก่าแก่เชื่อว่าเป็นวัดแห่งแรกของเมืองแพร่

“คุ้มเจ้าหลวง” และสนามหลวงเมืองแพร่ สถานที่สำคัญในการจัดนิทรรศการความเป็นมาของ “คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่” และการแสดง แสง สี เสียง เล่าเรื่องเมืองแป้.
“คุ้มเจ้าหลวง” และสนามหลวงเมืองแพร่ สถานที่สำคัญในการจัดนิทรรศการความเป็นมาของ “คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่” และการแสดง แสง สี เสียง เล่าเรื่องเมืองแป้.

...

กล่าวไว้ว่าเมืองแพร่สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ.1371 ถ้านับอายุของเมืองตามตำนานวัดหลวง ในปี 2562 เมืองแพร่จะมีอายุครบ 1,191 ปี

นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ปีนี้จังหวัดแพร่ได้พร้อมใจกันจัดงาน “แพร่เมืองเก่า 1,191 ปี” ขึ้น โดยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชน

“คำแสนแกลเลอรี” หอพุทธศิลป์ ประติมากรรมแกะสลักที่ทรงคุณค่าของเมืองแพร่ ซึ่งใครไปเยือนจังหวัดแพร่ ต้องไปชมกัน.
“คำแสนแกลเลอรี” หอพุทธศิลป์ ประติมากรรมแกะสลักที่ทรงคุณค่าของเมืองแพร่ ซึ่งใครไปเยือนจังหวัดแพร่ ต้องไปชมกัน.

เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาประวัติศาสตร์ ส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2563 ภายใต้ธีมงาน 4 ข่วง 4 กอง 1 กาด 9 ชาติพันธุ์ เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่จังหวัดแพร่ครบรอบการก่อตั้งเมือง 1,191 ปี

นายโชคดี อมรวัฒน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ได้พูดถึงประเด็น “ภาพรวมการจัดงานแพร่เมืองเก่า 1,191 ปี” ว่า ได้ชูความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ โดยใช้พื้นที่การจัดงานแบ่งออกเป็น 4 ข่วง 4 กอง 1 กาด 9 ชาติพันธุ์

ฟ้อนกลองอืดเมืองแพร่ เป็นศิลปะการฟ้อนโบราณของเมืองแพร่ อีกหนึ่งชุดการแสดงที่จะมาโชว์นักท่องเที่ยวในงาน “แพร่เมืองเก่า 1,191 ปี”.
ฟ้อนกลองอืดเมืองแพร่ เป็นศิลปะการฟ้อนโบราณของเมืองแพร่ อีกหนึ่งชุดการแสดงที่จะมาโชว์นักท่องเที่ยวในงาน “แพร่เมืองเก่า 1,191 ปี”.

ข่วงที่ 1 คือ “สถานที่” การจัดงานได้แก่ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ ใช้สถานที่คุ้มเจ้าหลวงและสนามหลวงเมืองแพร่เป็นพื้นที่จัดงาน กิจกรรมประกอบด้วยนิทรรศการประวัติความเป็นมาของคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ การแสดง แสง สี เสียง เล่าเรื่องเมืองแป้ การประกวดร้องเพลงผู้นำท้องถิ่น การเดินแฟชั่นโชว์

...

ข่วงที่ 2 ข่วงวัฒนธรรมเมืองแป้ จัดที่ข่วงวัฒนธรรมเมืองแป้ หรือกาดสามวัย มีกิจกรรมประกอบด้วยการวาดภาพเก่าเมืองแป้ การประกวด การแสดงทางด้านศิลปวัฒนธรรมของนักเรียน การแสดงสะล้อซอซึง ดนตรีล้านนา รำวงย้อนยุค การทอผ้าล้านนา การเขียนตัวหนังสือพื้นเมือง

นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่.
นางกานต์เปรมปรีด์ ชิตานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่.

ข่วงที่ 3 เมืองแพร่เมืองไม้และป่างาม สถานที่จัดงานใช้สถาบันประชารัฐพิทักษ์ป่า (โรงเรียนป่าไม้) มีกิจกรรมได้แก่การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับแพร่เมืองไม้และป่างาม ความรู้เกี่ยวกับไม้สัก ป่าไม้ กิจการไม้ในอดีต การแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากไม้และเฟอร์นิเจอร์ไม้ การประกวด การแกะสลักไม้ การแสดงโชว์ช้าง

ข่วงที่ 4 ข่วงประตูชัย สถานที่สี่แยกประตูชัย มีกิจกรรม ได้แก่ การแสดงการละเล่นของกลุ่มชาติพันธุ์ การแข่งขันดอกไฟดอก การจุดสะโป้ก กิจกรรม Countdown ฉลองปีใหม่ กิจกรรมตักบาตรปีใหม่

...

รถรางนำเที่ยวของ อบจ.แพร่ ที่นำนักท่องเที่ยวตระเวนไปไหว้พระ 9 วัด จนอิ่มบุญ.
รถรางนำเที่ยวของ อบจ.แพร่ ที่นำนักท่องเที่ยวตระเวนไปไหว้พระ 9 วัด จนอิ่มบุญ.

กิจกรรม 4 กอง ซึ่งคำว่า “กอง” หมายถึง “ถนน” เป็นการเชื่อมโยงไปยังสถานที่จัดงานทั้ง 4 ข่วงประกอบด้วย

กองที่ 1 กองสะป๊ะของดี 6 เวียง (เวียงโกศัย เวียงต้า เวียงเชียงชื่น เวียงด้ง เวียงสรอง เวียงเพท) คือ ถนนไชยบูรณ์ตั้งแต่หน้าบ้านพักนายอำเภอเมืองแพร่ถึงหน้าสำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ มีการแสดงและจำหน่ายสินค้าของดี 8 อำเภอ เช่นสินค้า OTOP สินค้าพื้นเมือง

กองที่ 2 กองกำกิ๋นถิ่นมะเก่า บริเวณถนนรอบเมือง ตั้งแต่พิพิธภัณฑ์บ้านเทพถึงประตูชัย มีการจำหน่ายอาหารพื้นเมืองแป้ การสาธิตการทำอาหารพื้นเมืองแป้

...

การเพนต์ผ้าหม้อฮ่อม ของศูนย์การเรียนรู้บ้านทุ่งเจริญ ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมืองแพร่.
การเพนต์ผ้าหม้อฮ่อม ของศูนย์การเรียนรู้บ้านทุ่งเจริญ ต.ทุ่งโฮ้ง อ.เมืองแพร่.

กองที่ 3 กองวิถีเกษตรแป้ บริเวณถนนคุ้มเดิมด้านหน้าสนามหลวงเมืองแพร่ถึงสถาบันประชารัฐพิทักษ์ป่า มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับวิถีเกษตรแพร่ การประกวดสินค้าทางการเกษตร

กองที่ 4 กองสะป๊ะผ้าแป้ บริเวณสี่แยกประตูชัย ถนนเจริญเมืองตรงไปยังสี่แยกน้ำพุ มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าทุกชนิด สาธิตการผลิตผลิตภัณฑ์จากผ้า และกาดกองเก่า ซึ่งจะมีการจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามวิถีชาวแพร่

ส่วน “กาด” หรือ “ตลาด” ที่ขึ้นชื่อของ จ.แพร่ อยู่ด้านหลังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ เป็นกาดที่มีเสน่ห์ชาวบ้านนำพืช ผัก ผลไม้ อาหารและขนมโบราณมาจำหน่ายหรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า “ถนนกาดกองเก่า”

การทอผ้ากะเหรี่ยง ของ อ.วังชิ้น จ.แพร่ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว สินค้าหัตถกรรมขึ้นชื่อของจังหวัดแพร่ เห็นแล้วใครๆก็อยากซื้อไว้ใช้.
การทอผ้ากะเหรี่ยง ของ อ.วังชิ้น จ.แพร่ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว สินค้าหัตถกรรมขึ้นชื่อของจังหวัดแพร่ เห็นแล้วใครๆก็อยากซื้อไว้ใช้.

9 ชาติพันธุ์ หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่ ประกอบด้วย ไทลื้อ ไทพวน ไทใหญ่ ไทวน กะเหรี่ยง มิ้ง อาข่า อึมปี้ มลาบรี โดยทั้ง 9 ชาติพันธุ์ จะมาร่วมแสดงที่ข่วงประตูชัยทุกคืนและมาทอผ้าชนเผ่าเล่าเรื่องผ่านนิทรรศการแบบมีชีวิต

หนาวปีนี้หากนักท่องเที่ยวยังไม่มีโปรแกรมจะเที่ยวไหน ขอเชิญไปร่วมฉลองครบรอบ 1,191 ปี ของเมืองแพร่ ซึ่งในปีนี้ทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดอย่างยิ่งใหญ่

ร่วมสัมผัสศิลปวัฒนธรรมประเพณี ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน.

พิจิตร สมศักดิ์
มณี ม่วงทอง รายงาน