เบื้องหลังความลงตัวการทำคดี “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” ซึ่งคืบหน้าไปได้ดี ออกหมายจับและปฏิบัติการเข้าค้นจับกุม 18 เครือข่ายสำคัญและศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหา สังคมชื่นชมการทำงานของตำรวจ

มาจากคำสั่งการของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. ลงมาดูแลคดีตั้งแต่แรก ทำให้เห็นปัญหาความเดือดร้อนของเสียหายที่นับวันเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปริมาณพนักงานสอบสวนที่จำกัด

เทียบกับจำนวนผู้เสียหาย

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ประชุมตำรวจทุกหน่วยทั่วประเทศจัดตั้งศูนย์รับแจ้งความร้องทุกข์คดี “ดิ ไอคอน” มี พล.ต.ท.อัคราเดช พิมลศรี ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ท.นิธิธร จินตกานนท์ ผบช.ประจำ สง.ผบ.ตร. พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ.

ย้ำตำรวจทุกหน่วยว่าคดี “ดิ ไอคอน กรุ๊ป” มีผู้เสียหายจำนวนมากเข้ามาแจ้งความร้องทุกข์ ที่ บก.ปคบ.เฉลี่ยวันละ 300-400 คน แม้จะจัดพนักงานสอบสวนรองรับการแจ้งความ แต่ไม่สอดคล้องจำนวนผู้เสียหาย

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ผบ.ตร.ขอให้ตำรวจทุกหน่วยเปิดศูนย์รับแจ้งความร้องทุกข์คดีนี้ทั่วประเทศ ทำเป็น “โมเดล” รูปแบบเดียวกับ บก.ปคบ. บริหารการรับแจ้งความ เพื่อส่งข้อมูลให้ บช.ก. บริหารคดี

ทำคดีรูปแบบเดียวกัน

พร้อมนำใช้เป็น “โมเดล” ในการบริหารคดี และบริหารการสื่อสาร หากมีคดีลักษณะนี้เกิดขึ้นมาอีก การเปิดศูนย์รับแจ้งความจะทำให้ตำรวจเห็นภาพในการจัดการเรื่องรับแจ้งความ วิเคราะห์ การบริหารคดีรวดเร็ว

ผบ.ตร.คาดโทษหากพบการปฏิเสธหรือบอกปัดไม่รับแจ้งความจากพื้นที่จังหวัดใด ถือว่าที่ไม่ใส่ใจความเดือดร้อนประชาชน เป็นแนวทางทำงาน “แบบมืออาชีพ” ซึ่ง ผบ.ตร.ใช้ระบบมาบริหารคดีใหญ่ๆ เพื่อไม่ให้ผู้เสียหายเดือดร้อน รวบรวมพยานหลักฐานรวดเร็ว ครอบคลุมทุกพื้นที่ และวิเคราะห์รูปแบบคดีในแนวทางเดียวกัน

...

ผลงานคดีจะทำให้ศรัทธาประชาชนกับตำรวจกลับคืนมา.

“เพลิงพยัคฆ์”
pluengpayak@thairath.co.th 

คลิกอ่านคอลัมน์ “เลขที่1 วิภาวดีฯ” เพิ่มเติม