ตำนานของบรรพบุรุษมนุษย์บนชายฝั่งแอฟริกาตะวันออกมีประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน ท้าทายการศึกษามานาน แต่เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนำโดยนักมานุษยวิทยาจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเคนยาและมหาวิทยาลัยไนโรบีในเคนยา รวมถึงมหาวิทยาลัยเซาธ์ฟลอริดา ในสหรัฐฯ ได้ตรวจสอบดีเอ็นเอหรือสารพันธุกรรมของบุคคล 80 คนจากอารยธรรมสวาฮีลี (swahili) ช่วง พ.ศ.1793–2343 ครอบคลุมพื้นที่บริเวณชายฝั่งของเคนยา แทนซาเนีย โซมาเลียตอนใต้ โมซัมบิกตอนเหนือ เกาะมาดากัสการ์ หมู่เกาะโคโมโรส และแซนซิบาร์ ในปัจจุบัน
การวิเคราะห์พบว่าครึ่งหนึ่งของดีเอ็นเอมาจากบรรพบุรุษหญิงชาวแอฟริกันเป็นหลัก ในขณะที่ดีเอ็นเออีกครึ่งหนึ่งมาจากผู้อพยพเพศชายจำนวนหลายคนที่มาจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งประมาณ 90% มาจากเปอร์เซียหรืออิหร่านในทุกวันนี้ ส่วนอีก 10% มาจากอินเดีย การค้นพบทางพันธุกรรมนี้สะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของชาวสวาฮีลี และภาษาสวาฮีลีของก็มีต้นกำเนิดในแอฟริกา โดยศาสนาอิสลามที่แพร่หลายนั้นแผ่ขยายมาจากตะวันออกกลาง ขณะที่อาหารได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของอินเดียและตะวันออกกลาง
...
ทั้งนี้ ลำดับเวลาที่นำเสนอในการทดสอบดีเอ็นเอนั้นสอดคล้องกับ คิลวา โครนิเคิล (Kilwa Chronicle) ซึ่งเป็นข้อมูลประวัติศาสตร์เกี่ยวกับภาษาสวาฮีลีที่มีอายุหลายร้อยปี ซึ่งบอกเล่าถึงผู้อพยพชาวเปอร์เซียที่มาถึงภูมิภาคนี้ตั้งแต่ช่วง พ.ศ.1543 การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงแอฟริกันเริ่มมีบุตรกับชายชาวเอเชียเมื่อ 1,000 ปีที่แล้วเป็นอย่างน้อย ในหลายพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง และภาษาสวาฮีลีในยุคกลางมีรากเหง้าของชาวเอเชียและแอฟริกาผสมกัน.