ยานอวกาศฮายาบูสะ 2 (Hayabusa 2) ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ได้เก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยริวกุ (Ryugu) ที่อยู่ห่างจากโลกราว 300 ล้านกิโลเมตร เมื่อ 22 ก.พ.2562 และส่งกลับโลกเมื่อ 6 ธ.ค.2563 ตัวอย่างถูกดึงเอาออกมาจากในญี่ปุ่นเดือน ก.ค. 2564 และถูกวิเคราะห์ที่ศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ดขององค์การนาซา สหรัฐฯ ในปีเดียวกัน ตัวอย่างจำนวน 30 มิลลิกรัม ก็ถูกจัดสรรให้กับทีมวิเคราะห์ระดับนานาชาติ

ล่าสุด การวิเคราะห์เบื้องต้นของนักวิทยาศาสตร์นาซาและทีมวิจัยนานาชาติ รายงานว่าตัวอย่างเหล่านั้นมีโมเลกุลอินทรีย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งโมเลกุลอินทรีย์เป็นส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิตบนบกทุกรูปแบบ ประกอบด้วยสารประกอบหลากหลายชนิดที่ทำจากคาร์บอนรวมกับไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน กำมะถัน และอะตอมอื่นๆ อย่างไรก็ตาม โมเลกุลอินทรีย์ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากปฏิกิริยาเคมีที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานที่ว่าปฏิกิริยาเคมีในดาวเคราะห์น้อยอาจสร้างส่วนประกอบบางอย่างของ ชีวิตได้

การปรากฏตัวของโมเลกุลที่เป็นแหล่งพลังงานช่วยในการเจริญเติบโตให้สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวดาวเคราะห์น้อยริวกุ ที่แม้จะมีสภาพแวดล้อมที่รุนแรงเกิดความร้อนจากแสงอาทิตย์และรังสีอัลตราไวโอเลตหรือแม้แต่รังสีคอสมิกภายใต้สภาวะที่มีสุญญากาศสูง ชี้ว่าวัสดุบนพื้นผิวบนสุดของริวกุ มีศักยภาพในการปกป้องโมเลกุลอินทรีย์ โมเลกุลเหล่านี้สามารถเคลื่อนย้ายไปทั่วระบบสุริยะ อาจกระจายเป็นอนุภาคฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์หลังจากถูกขับออกจากชั้นบนสุดของดาวเคราะห์น้อยโดยการชนหรือสาเหตุอื่นๆนั่นเอง.

NASA’s Goddard Space Flight Center

...