นักบินสายการบิน อีซี่ย์เจ็ต ใจดี ขับเครื่องบินเป็นวงกลม 360 องศา พาผู้โดยสารชมปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สุดสวย เหนือท้องฟ้าสหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นได้ยาก

เมื่อ 1 มี.ค. 2566 บีบีซีรายงาน นักบินสายการบิน Easy Jet (อีซี่ย์เจ็ต) ในอังกฤษ ขับเครื่องบินเป็นวงกลม 360 องศา เพื่อให้ผู้โดยสารได้ชมปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ หรือ ‘แสงออโรรา’ สุดสวย เหนือท้องฟ้าในสหราชอาณาจักร (UK) ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะปกติจะต้องเดินทางไปชม ปรากฏการณ์ แสงเหนือ ที่ประเทศแถบสแกนดิเนเวีย และไอซ์แลนด์เท่านั้น

ปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สุดสวย เหนือท้องฟ้าบริเวณชายหาด  Hornbaek ทางภาคเหนือของเดนมาร์ก เมื่อคืนวันที่ 27 ก.พ. 2566
ปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สุดสวย เหนือท้องฟ้าบริเวณชายหาด Hornbaek ทางภาคเหนือของเดนมาร์ก เมื่อคืนวันที่ 27 ก.พ. 2566

...

ด้านสำนักอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักร รายงานว่า มีโอกาสที่ประชาชนในพื้นที่จำนวนมากทั่วสหราชอาณาจักรจะได้เห็น แสงเหนือ เป็นคืนที่ 2 ในค่ำคืนวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา หลังจากผู้คนในสหราชอาณาจักรต้องตื่นตะลึงกับความสวยงามของแสงเหนือ ในคืนวันที่ 27 ก.พ. ที่สามารถชมได้ในหลายพื้นที่ไปจนถึงเทศมณฑล คอร์นวอลล์

ปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สุดสวย เหนือท้องฟ้าบริเวณชายหาด  Hornbaek ทางภาคเหนือของเดนมาร์ก เมื่อคืนวันที่ 27 ก.พ. 2566
ปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สุดสวย เหนือท้องฟ้าบริเวณชายหาด Hornbaek ทางภาคเหนือของเดนมาร์ก เมื่อคืนวันที่ 27 ก.พ. 2566

นอกจากนั้น ประชาชนในไอร์แลนด์เหนือ รวมทั้ง ภาคใต้ของประเทศเวลส์และมณฑลนอร์ฟอล์ก สามารถชมปรากฏการณ์แสงเหนือได้เช่นกัน ในขณะที่ ผู้คนในเดนมาร์ก ก็ได้มีโอกาสชมความงามของแสงเหนือ เมื่อคืนวันที่ 27 ก.พ. ที่ผ่านมา

ประชาชนมาชมปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สุดสวย เหนือท้องฟ้าบริเวณชายหาด  Hornbaek ทางภาคเหนือของเดนมาร์ก เมื่อคืนวันที่ 27 ก.พ. 2566
ประชาชนมาชมปรากฏการณ์ ‘แสงเหนือ’ สุดสวย เหนือท้องฟ้าบริเวณชายหาด Hornbaek ทางภาคเหนือของเดนมาร์ก เมื่อคืนวันที่ 27 ก.พ. 2566

...

ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อธิบายปรากฏการณ์ 'แสงเหนือ' หรือ ออโรรา (Aurora) ว่า เกิดจากอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอน หรือไอคอนอื่นๆ ที่มีพลังงานสูงถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ ขณะกำลังโคจร ซึ่งอนุภาคเหล่านี้จะเคลื่อนที่มากับลมสุริยะและเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก

เมื่ออนุภาคเหล่านี้เคลื่อนผ่านชั้นบรรยากาศในระดับความสูงประมาณ 80-1,000 กิโลเมตร จากพื้นดินจะชนเข้ากับโมเลกุลของก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ และปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสง ที่เรามองเห็นเป็นสีต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับอนุภาคดังกล่าวชนกับโมเลกุลของก๊าซในช่วงระดับความสูงใด โดยก๊าซออกซิเจนจะให้แสงสีเขียวหรือสีแดง ไนโตรเจนให้แสงสีน้ำเงินหรือสีม่วง ส่วนฮีเลียมให้แสงสีฟ้าหรือสีชมพู

ปกติแล้ว ปรากฏการณ์แสงเหนือ มักเกิดขึ้นในแถบประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดสูง ซึ่งก็คือบริเวณขั้วโลกที่มีอุณหภูมิต่ำ อากาศหนาวเย็น ซึ่งหากเกิดใกล้ขั้วโลกเหนือ จะเรียกว่า 'แสงเหนือ' (Aurora borealis) และหากเกิดใกล้ขั้วโลกใต้จะเรียกว่า'แสงใต้' (Aurora australis).