ในแมลงหลายชนิด ปีกจะทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องมือและระบบลำโพงในการสร้างเสียงร้อง อย่างเช่น จิ้งหรีด และตั๊กแตนเคทีดิดส์ ก็จะถูปีกคู่หน้าเพื่อให้เกิดเสียงเพื่อเรียกหาเพื่อนหรือเรียกหาตัวเมีย หรือไม่ก็เป็นการขู่ศัตรู แต่ก็มีนักวิจัยสงสัยว่าแมลงยุคปัจจุบันและยุคโบราณมี เสียงร้องแบบเดียวกันหรือไม่
ล่าสุดนักวิจัยจากมหา วิทยาลัยลินคอล์น ในอังกฤษ ได้รายงานผลการศึกษาซากตัวอย่างแมลงชนิดมีปีกที่ชื่อ Prophalangopsis obscura เป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติในกรุงลอนดอน ซึ่ง Pro phalangopsis obscura นั้นพบครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2412 แต่เชื่อกันว่าแมลงลึกลับจำพวกนี้น่าจะมีชีวิตอยู่ที่ไหนสักแห่งบนโลกแม้ว่าหายไปนานกว่าร้อยปีแล้ว ทว่าการจะรู้เบาะแสที่อยู่ของแมลงชนิดนี้ก็ต้องหาวิธีที่แยบยล
นักวิจัยจึงเกิดพุทธิไอเดียว่าการสร้างเสียงร้องของแมลงชนิดนั้นขึ้นมาใหม่อีกครั้งในรูปแบบดิจิทัลน่าจะช่วยตามหาแมลงกลุ่มนี้ได้ นักวิจัยจึงสร้างภาพ 3 มิติของแต่ละปีกและกำหนดความถี่เสียงร้องที่เข้ากันของแมลงขึ้นมา ส่วนถิ่นที่คาดการณ์ว่าอาจค้นพบ Prophalangopsis obscura ก็คือภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ตอนเหนือของอินเดีย และทิเบต ที่น่าจะเป็นสถานที่อันเหมาะสมสำหรับให้แมลงชนิดนี้อาศัยอยู่ได้มาอย่างยาวนานนักวิจัยเผยว่านอกจากการใช้เสียงร้องของแมลงแบบดิจิทัลตามหาแมลงที่หายสาบสูญไปนานกว่า 150 ปีแล้ว รูปแบบการสร้างเสียงยังอาจใช้ตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพและให้ข้อมูลด้านการอนุรักษ์ด้วยเช่นกัน.