การพัฒนาสร้าง แคปซูลขนาดเล็กจิ๋วที่สามารถปรับแต่งให้เข้ากับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ได้พิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์อย่างมากในการนำส่งยารักษาโรคและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพอื่นๆ เข้าสู่ร่างกาย แต่การจะแน่ใจว่าแคปซูลเหล่านี้ทำงานได้ดีที่สุด ต้องผ่านการออกแบบและผลิตด้วยความแม่นยำ นอกจากนี้ยังค้นพบว่าแคปซูลที่ไม่ใช่ทรงกลมจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากกว่าแคปซูลที่มีรูปทรงกลม เพราะมีข้อได้เปรียบคือเซลล์ชีวภาพดูจะทำให้วัตถุที่ไม่ใช่ทรงกลมอยู่ภายในได้ง่ายขึ้น

ล่าสุด ทีมวิจัยนานาชาตินำโดยนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสโกลโกโว (Skoltech) ในรัสเซีย เผยว่า พัฒนาวิธีการผลิตไมโครแคปซูลโพลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้แรงบันดาลใจจากกระบวนการทำ “เพลเมนี” (pelmeni) ซึ่งเป็นการทำเกี๊ยวแบบรัสเซียนั่นเอง ตั้งแต่วิธีขึ้นรูปทรงกรวยเหลี่ยมขนาดไมโครเมตรทำจากกรดโพลิแลคติค (polylactic acid) เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จนส่งผลให้เกิดแคปซูลรูปตอร์ปิโดความยาว 7 ไมโคร เมตรด้วยใช้การพิมพ์แบบภาพพิมพ์หิน แผ่นแบบจะเคลือบด้วยโพลิเมอร์ การบรรทุกยาจะวางลงบนโพลีเมอร์และปิดผนึกด้วยโพลิเมอร์อีกชั้น ยาก็จะถูกประกบระหว่างชั้น 2 ชั้น จากนั้นแคปซูลจะถูกพิมพ์ลงบนเจลาตินและนำไปผ่านปฏิกิริยาการละลายในน้ำ

การเลียนแบบกระบวนการทำเพลเมนี ยังช่วยเปิดทางให้เห็นถึงการผลิตซ้ำในระดับโครงสร้างจุลภาค และเป็นเคล็ดลับในการช่วยให้ห่อส่วนประกอบต่างๆไว้ข้างใน เช่น โปรตีน หรือสารประกอบที่ดีต่อสุขภาพตามธรรมชาติ.

Credit : Pixabay/CCO Public Domain