ภาพ : Journal of The Royal Society Interface (2020). DOI: 10.1098/rsif.2019.0775
ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2551 มีทีมนักโบราณคดีได้ขุดพบกะโหลกในหลุมโคลนใกล้หมู่บ้านเฮสลิงตัน ในอังกฤษ ซึ่งสร้างความประหลาดใจแก่ทีมนักโบราณคดี เนื่องจากภายในกะโหลกยังมีเนื้อเยื่อสมองจำนวนเล็กน้อยติดอยู่ ที่ดูลึกลับยิ่งกว่านั้นก็คือไม่มีหลักฐานส่วนอื่นของศีรษะ เช่น เส้นผม การวิจัยที่เผยออกมาภายหลังชี้ให้เห็นว่ากะโหลกชิ้นนั้นมีอายุประมาณ 2,600 ปีและเป็นของบุรุษที่อาจโดนประหารชีวิต
แต่คำถามใหญ่ก็คือเนื้อเยื่อสมองอยู่รอดมาได้นานขนาดนั้นได้อย่างไร เพราะปกติเมื่อคนเราตายไป สมองจะเริ่มสลายตัวในไม่ช้า เนื่องจากปริมาณไขมันจะสูงขึ้น การพยายามวิจัยต่อมาก็ไม่พบว่าจะมีสิ่งใดช่วยรักษาสมองให้อยู่รอดได้ ทำให้เรื่องนี้ยิ่งลึกลับมากขึ้น ทว่าในความพยายามครั้งใหม่ของทีมวิจัยนานาชาติ ได้รายงานลงวารสาร Journal of the Royal Society Interface ถึงตรวจสอบสมองดังกล่าวอีกครั้งเพื่อดูว่าจะไขความกระจ่างได้หรือไม่ ซึ่งครั้งนี้ทีมได้ศึกษาในระดับโมเลกุลด้วยการมองหาหลักฐานของโปรตีนในสมอง

...
ทีมวิจัยเผยว่าพบหลักฐานของโปรตีนมากกว่า 800 ตัวอย่างในสมอง บางส่วนยังอยู่ในสภาพดี แถมยังตอบสนองทางภูมิคุ้มกันได้ โปรตีนเหล่านี้หุ้มห่อตัวเองและมวลรวมที่อัดแน่นนั้นมีเสถียรมากกว่าที่พบในสมองของคนที่มีชีวิตปกติในปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าการก่อตัวของมวลรวมอาจอธิบายได้ว่าสสารสามารถยับยั้งการย่อยสลายได้อย่างไร และยังสังเกตว่าสภาพแวดล้อมที่พบกะโหลกศีรษะอาจช่วยได้ เพราะตะกอนเปียกชื้นและละเอียดอาจช่วยกั้นออกซิเจนไว้.