ภาพ : NASA's Goddard Space Flight Center

หนึ่งในภารกิจที่ท้าทายขององค์การนาซา ก็คือการค้นหาดาวเคราะห์ ที่คล้ายโลกและเครื่องมือที่สร้างขึ้นเพื่อตามหาดาวเคราะห์ลักษณะนี้ก็คือกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ติดตั้งบนดาวเทียมเทสส์ (Transop Exoplanet Survey Satellite-TESS) เมื่อเร็วๆนี้มีรายงานว่าดาวเทียมเทสส์ได้ค้นพบดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกเป็นครั้งแรก ตั้งอยู่ในเขตที่เอื้อต่อการอาศัยได้ เนื่องจากมีระยะทางและสภาวะที่อาจเหมาะสมให้มีของเหลวอยู่บนพื้นผิว

นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของนาซา ยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์ที่เรียกว่า TOI 700 d เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกเพียงไม่กี่ดวงที่ค้นพบในเขตเอื้ออาศัยอยู่ได้ของดาวฤกษ์ หลังจากดาวเทียมเทสส์ได้ตรวจสอบแนวของท้องฟ้ากว้างเป็นเวลา 27 วัน ในแต่ละครั้ง การเฝ้ามองระยะยาวได้ช่วยให้ดาวเทียมเทสส์ติดตามการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวฤกษ์ ที่เกิดจากการที่ดาวเคราะห์โคจรเปลี่ยนผ่านหน้าดาวฤกษ์ของมัน ซึ่งก็คือ TOI 700 เป็นดาวแคระแดงขนาดเล็กอยู่ห่างออกไป 100 ปีแสงในทางใต้ของกลุ่มดาวปลากระโทแทง (constellation Dorado) โดย TOI 700 มีขนาดและมวลประมาณ 40% ของดวงอาทิตย์ มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณครึ่งหนึ่ง

ภาพ : NASA's Goddard Space Flight Center
ภาพ : NASA's Goddard Space Flight Center

...

นอกจากนี้ยังพบว่าดาวเคราะห์วงในสุด TOI 700 b มีขนาดเกือบเท่าโลกน่าจะเป็นหิน โคจรรอบ TOI 700 ทุกๆ 10 วัน ส่วนดาวเคราะห์ชั้นกลาง TOI 700 c มีขนาดใหญ่กว่าโลก 2.6 เท่า โคจรรอบดาวฤกษ์ทุกๆ 16 วัน และน่าจะมีก๊าซครอบครอง ส่วน TOI 700 d เป็นดาวเคราะห์นอกระบบเพียงดวงเดียวอยู่ในโซนที่อาศัยอยู่ได้ ขนาดใหญ่กว่าโลกราว 20% โคจรรอบดาวฤกษ์ทุก 37 วัน และรับพลังงานจากดาวฤกษ์ 86% ของพลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งถึงโลก.