Credit : NASA/JPL-Caltech/Event Horizon Telescope Collaboration

จากการเปิดเผยของกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มีเครือข่ายเชื่อมต่อกับกล้องวิทยุโทรทรรศน์หลายตัวบนโลก (Event Horizon Telescope-EHT) นักวิทยาศาสตร์จึงได้เห็นภาพของหลุมดำขนาดยักษ์มวล 6,500 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเราเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา

กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ขององค์การ บริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือองค์การนาซา ได้เผยให้เห็นภาพดาราจักรหรือกาแล็กซียักษ์เมสิเย เอทตีเซเว่น (Messier 87 หรือ M87) ห่างจากโลกประมาณ 55 ล้านปีแสง โดยเห็นกาแล็กซีแห่งนี้ทั้งหมดในย่านแสงอินฟราเรด และพบว่าหลุมดำยักษ์ดังกล่าวตั้งอยู่ในกาแล็กซีวงรี M87 ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้ศึกษากาแล็กซี M87 มานานกว่า 100 ปี จากถ่ายภาพโดยหอสังเกตการณ์ดวงดาวขององค์การนาซาหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา และกล้องโทรทรรศน์อวกาศนิวสตาร์

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2461 นักดาราศาสตร์สังเกตเห็นเป็นครั้งแรกว่า มีรังสีแปลกๆส่องออกมาจากใจกลางกาแล็กซี นั่นคือก๊าซพุ่งออกมาอย่างรวดเร็วและสว่างสดใส ซึ่งมาจากวัตถุพลังงานสูงที่เกิดขึ้นบริเวณจานฝุ่นก๊าซของวัตถุนั้น หมุนอยู่ใกล้ๆหลุมดำยักษ์อย่างรวดเร็ว และมองเห็นได้ในช่วงความยาวคลื่นแสงและคลื่นวิทยุไปจนถึงรังสีเอกซ์.