ภาพ : James Tuttle Keane/Caltech

นานมาแล้วที่มีความเชื่อว่าระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์ 9 ดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ต่อมาสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้ลดชั้นดาวพลูโตให้เป็นแค่ดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากดาวพลูโตโคจรอยู่ในแถบไคเปอร์ (Kuiper belt) ร่วมกับวัตถุอื่นๆ แถมบางวัตถุยังมีขนาดใหญ่กว่าเสียอีก ตอนนี้จึงถือว่าระบบสุริยะมีดาวเคราะห์ทั้งหมด 8 ดวง

แต่เมื่อกว่า 3 ปีที่ผ่านมา มีการค้นพบวงโคจรที่ผิดปกติอยู่ไกลออกไปจากดาวพลูโต ทำให้นักดาราศาสตร์ตั้งสมมติฐานว่านี่อาจเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 (Planet Nine) ซึ่งมีความพยายามค้นคว้าตั้งหลักฐานขึ้นมาสนับสนุนอย่างมากมายถึงการมีอยู่ของดาวเคราะห์ลึกลับแสนไกลดวงนี้ แต่จะมีจริงหรือไม่ ยังไร้คำตอบยืนยัน ทว่านักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าดาวเคราะห์ 9 มีอยู่จริง ที่ทำให้มั่นใจเช่นนั้นก็เพราะผลการพัฒนาแบบจำลองเชิงทฤษฎีของดาวเคราะห์ที่อธิบายปรากฏการณ์อื่นๆ เช่น สาเหตุที่ 1 วัตถุแถบไคเปอร์บางดวงมีวงโคจรตั้งฉากกับระนาบของระบบสุริยะ ซึ่งไม่แน่ว่าดาวเคราะห์ 9 จะปรากฏตัวขึ้นจริงในสักวัน แม้ว่าตอนนี้จะยังเป็นเพียงความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ให้นักดาราศาสตร์ตามหา

คาดการณ์ว่าดาวเคราะห์ 9 อาจมีมวลมากกว่าโลก 5 เท่าและมีระยะกึ่งแกนเอก (semimajor) ในวงโคจรระยะใกล้เคียง 400 หน่วยดาราศาสตร์ ทำให้มันน่าจะมีขนาดเล็กและอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าที่เคยสงสัย รวมถึงอาจสว่างขึ้นด้วย.