ทำความรู้จัก ดาวเทียม THEOS-2 มีหน้าที่และประโยชน์อย่างไรต่อคนไทย หลังจากเพิ่งถูกนำส่งขึ้นสู่อวกาศ ในช่วงเช้าที่ผ่านมา

ดาวเทียม THEOS-2 (ธีออส 2) เป็นโครงการของหน่วยงาน GISTDA ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2543 ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยคำว่า ‘THEOS (ธีออส)’ เป็นคำย่อมากจากคำว่า ‘Thailand Earth Observation Satellite’ หมายถึง ดาวเทียมสำรวจโลกของประเทศไทย  และเป็นรุ่นพัฒนาต่อยอดมาจาก ดาวเทียม THEOS-1 หรือ ไทยโชต (Thaichote) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

สำหรับโครงการ THEOS-2 นอกจากประเทศไทยจะได้ดาวเทียมทรัพยากรดวงใหม่ที่ยกระดับเทคโนโลยีแล้ว ยังได้โครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากรที่ผ่านการอบรมสร้างดาวเทียมจากประเทศผู้ผลิต ซึ่งช่วยยกระดับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอวกาศในทุกๆ องค์ประกอบ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

วันที่ 9 ต.ค. 2566 ช่วงเช้าเวลา เวลา 08.36 น. ตามเวลาประเทศไทย GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้นำส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่อวกาศในที่สุด ณ ท่าอวกาศยานยุโรป เฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้เป็นที่เรียบร้อย หลังมีการเลื่อนการนำส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรออกไปก่อนในวันที่ 7 ต.ค. 2566 เนื่องจากระบบมีการแจ้งเตือนว่าพบปัญหาจากอุปกรณ์บางอย่าง

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวแสดงความยินดีที่ประเทศไทยส่งดาวเทียม “THEOS-2” ขึ้นสู่วงโคจรได้เป็นผลสำเร็จว่า “ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ดาวเทียม THEOS-2 จะเป็นอีกกลไกสำคัญหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศไทยมีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อต่อยอดการพัฒนาทั้งสังคมและเศรษฐกิจของประเทศสืบไป”

คุณสมบัติของดาวเทียม THEOS-2  

...

ดาวเทียม THEOS-2 ใช้ในการเก็บภาพรายละเอียดสูงถึง 50 เซนติเมตรต่อพิกเซล กลุ่มดาวเทียมสำรวจโลกรายละเอียดสูง (Very High Resolution) ซึ่งดีที่สุดในกลุ่มของประเทศอาเซียน เทียบชั้นกับดาวเทียมรายละเอียดสูงในกลุ่มผู้นำโลก สามารถถ่ายภาพและส่งข้อมูลลงมาที่สถานีภาคพื้นดินได้ไม่ต่ำกว่า 74,000 ตารางกิโลเมตรต่อวัน และถูกวางโครงสร้างให้มีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี 

ดาวเทียม THEOS-2 มีประโยชน์อย่างไร

ดาวเทียม THEOS-2 คือ เครื่องมือพัฒนาประเทศ เป็นคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนชาวไทย โดยใช้เป็นฐานข้อมูลสำคัญในด้านการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำเอามาพัฒนาในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านการเกษตร 
  • ด้านการจัดการเมือง 
  • ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
  • ด้านการจัดการน้ำ 
  • ด้านการจัดการภัยภิบัติ 
  • ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ 

ขณะนี้ดาวเทียม THEOS-2 เริ่มปฏิบัติการสำรวจโลกแล้ว โดยหลังจากปล่อยดาวเทียมในเวลา 08.36 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) จะใช้เวลากว่า 52 นาที ในการเข้าสู่วงโคจรที่ระดับความสูง 621 กิโลเมตร เมื่อดาวเทียมขึ้นไปแล้ว จะทดสอบระบบในอวกาศร่วมกับสถานีภาคพื้นดินราว 3 เดือน ก่อนจะใช้งานได้ แต่หากมีสถานการณ์เร่งด่วนเกิดขึ้น อาทิ ภัยพิบัติ THEOS-2 ก็สามารถสั่งถ่ายภาพได้ภายใน 5-8 วัน หลังจากดาวเทียมเข้าสู่วงโคจร อ่านเพิ่มเติม

ข้อมูลและภาพ : GISTDA