หนึ่งในภารกิจยานอวกาศฉางเอ๋อ 5 (Chang’e 5) ขององค์การอวกาศแห่งชาติจีน ที่ส่งไปสำรวจดวงจันทร์ก็คือการเก็บตัวอย่างและส่งกลับมาศึกษายังโลก ยานลงจอดบนดวงจันทร์เมื่อ 1 ธ.ค.2563 ในแอ่งขนาดใหญ่ชื่อ “โอซีเอนัส พรอสซาเลรัม” (Oceanus Procellarum) หรือ “มหาสมุทรแห่งพายุ” ทางขั้วเหนือของดวงจันทร์ ใกล้กับบริเวณที่ก่อตัวของภูเขาไฟมอนส์ รึมเคอร์ (Mons Rumker)

ยานฉางเอ๋อ 5 ได้รวบรวมตัวอย่างบนดวงจันทร์ 1,731 กรัม โดยได้จากแกนลึกประมาณเกือบ 1 เมตรที่โอซีเอนัส พรอสซาเลรัม ในช่วงที่ร้อนที่สุดของวันบนดวงจันทร์ที่อุณหภูมิใกล้ 93 องศาเซลเซียส ซึ่งพื้นผิวจะแห้งแล้งที่สุด และส่งตัวอย่างกลับมายังโลกเมื่อ 16 ธ.ค. ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์สังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติจีนรายงานผลวิเคราะห์ตัวอย่างที่ได้มาว่าพบสัญญาณของน้ำในตัวอย่างหินและดิน หลักฐานของน้ำปรากฏในรูปของไฮดรอกซิล (Hydroxyl) ที่ห่อหุ้มด้วยแร่ผลึกอะพาไทต์ (Apatite) ทั้งนี้ ไฮดรอกซิลนั้นประกอบด้วยอะตอมไฮโดรเจนเดี่ยว 2 ตัวและอะตอมออกซิเจน 1 ตัว เหมือนกับในโมเลกุลของน้ำ โดยเคยถูกพบในตัวอย่างจากดวงจันทร์ที่องค์การนาซา ของสหรัฐอเมริกา สกัดขึ้นมาได้เมื่อหลายสิบปีก่อน

เป็นที่รู้กันว่าน้ำส่วนใหญ่บนดวงจันทร์เป็นผลมาจากกระบวนการทางเคมีที่เกิดจากการชนของอนุภาคที่มีประจุจากดวงอาทิตย์ลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ แต่แหล่งที่มาของไฮดรอกซิลในแร่ธาตุ เช่น อะพาไทต์มีแนวโน้มสูงว่าจะเป็นไปได้ ดังนั้น การพบสัญญาณของน้ำในตัวอย่างที่จีนดึงมาจากที่ราบลาวาบนดวงจันทร์ จะทำให้เข้าใจที่มาที่ไปมากขึ้น อันเป็นคำถามสำคัญสำหรับการสำรวจดวงจันทร์ในอนาคต.