หลังจากปล่อยขึ้นสู่วงโคจรโลกไปเมื่อ 2 ปีก่อน กล้องโทรทรรศน์อวกาศคีอ็อปส์ (CHEOPS) ขององค์การอวกาศยุโรป หรืออีเอสเอ ที่มีภารกิจหลักในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ก็ทำผลงานได้น่าพอใจไม่น้อย ล่าสุดกล้องคีอ็อปส์สามารถตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ไม่ถึง 1 วัน อีกทั้งยังพบว่ามันมีรูปร่างที่ผิดไปจากทรงกลมแบบดาวเคราะห์ทั่วๆไป
ดาวเคราะห์นอกระบบดวงนี้มีชื่อว่า WASP-103b ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส ที่น่าสนใจก็คือมันมีรูปทรงคล้ายลูกรักบี้มากกว่าทรงกลม และนี่เป็นครั้งแรกที่ตรวจพบการเสียรูปของดาวเคราะห์นอกระบบ นักดาราศาสตร์ขององค์การอวกาศยุโรปเชื่อว่า WASP-103b จะให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆเกี่ยวกับโครงสร้างภายในของดาวเคราะห์ พวกเขาคิดว่าการที่ WASP-103b ถูกทำให้ผิดรูปทรงก็เพราะแรงคลื่นที่รุนแรงระหว่างดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์แม่ของมันที่ชื่อ WASP-103 ซึ่งร้อนกว่าดวงอาทิตย์ถึง 200 องศา และใหญ่กว่าถึง 1.7 เท่า เทียบกันแล้ว ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าที่จะทำให้เกิดการเสียรูปครั้งใหญ่ของโลกเรา
สำหรับ WASP -103b ถือเป็นดาว เคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเกือบ 2 เท่าของดาวพฤหัสบดี มีมวล 1.5 เท่า โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ของตนในเวลาน้อยกว่า 1 วัน นักดาราศาสตร์สงสัยว่าบริเวณใกล้เคียงเช่นนี้จะทำให้เกิดผลกระทบที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงขนาดใหญ่ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถวัดค่าได้.
(ภาพประกอบ Credit : European Space Agency)