เมื่อมองด้วยตาเปล่าเราจะเห็นดาวเคราะห์เพื่อนบ้านในระบบสุริยะปรากฏเป็นจุดสว่าง แต่การใช้กล้องโทรทรรศน์จะทำให้จุดสว่างเหล่านี้โดดเด่นขึ้น มากไปกว่านั้นคือเปิดเผย ให้เห็นโครงสร้างต่างๆ เช่น จุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดี วงแหวนของดาวเสาร์ หรือแผ่นน้ำแข็งของดาวอังคาร ทั้งนี้ ในอีกไม่นานเราจะได้เห็นรายละเอียดที่มากขึ้นของดาวเคราะห์ อื่นๆ ไม่เพียงในระบบสุริยะ แต่รวมถึงดาวเคราะห์นอกระบบ โดยการทำงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ ที่เพิ่งปล่อยขึ้นสู่วงโคจรโลกเมื่อวันคริสต์มาสปีที่แล้ว

นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมอนทรีออลในแคนาดา ที่ศึกษาการจำแนกลักษณะบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ และมุ่งเน้นการพัฒนาเครื่องมือในการทำแผนที่บรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ เผยว่า การใช้การสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ จะช่วยในการทำแผนที่บรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์อื่นๆที่สำรวจพบได้ในระยะทางที่ห่างไกลจากโลกมาก เช่น ดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ใกล้เราที่สุดอย่างพร็อกซิมา เซนทอรี บี (Proxima Centauri b) ที่อยู่ห่างออกไป 4.2 ปีแสง หรือ 265,000 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ด้วยกระจกสูง 6.5 เมตร เมื่อเทียบกับกระจก 2.4 เมตรของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ทำให้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ สังเกตได้แม่นยำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในช่วงความยาวคลื่นที่หลากหลาย และเครื่องมือ 4 ชิ้น รวมถึง Near-infrared Imager and Slitless Spectrograph (NIRISS) ขององค์การอวกาศแคนาดา จะสังเกตการณ์ในช่วงรังสีอินฟราเรดและกำหนดลักษณะบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากมายได้.

(ภาพประกอบ Credit : NASA/ESA)