เทศกาลสงกรานต์ใกล้จะมาถึงเป็นช่วงวันเวลาของครอบครัวและเป็นวันผู้สูงอายุ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำประโยชน์ของนาฬิกาอัจฉริยะ แอปเปิล วอตช์ (Apple Watch) สำหรับการใช้ติดตามดูแลสุขภาพซึ่งบางครั้งเรามองไม่เห็นถึงประโยชน์ของการนำมาใช้งานกับผู้สูงอายุได้อย่างจริงจัง

ปัจจุบัน Apple Watch เป็นที่นิยมใช้งาน กันอย่างแพร่หลาย กับการใช้งานหลายๆด้านยิ่งรุ่นที่รองรับ “เซลลูลาร์” ไม่จำเป็นต้องใช้ไอโฟนเลยก็ได้ สามารถใช้สื่อสาร ฟังเพลง การแจ้งเตือนของแอปพลิเคชัน อัปเดตกิจกรรมต่างๆรวมทั้งการติดตามแจ้งเตือนสุขภาพ การติดตามเสียงรบกวน การติดตามการนอนหลับ การแจ้งเตือนการล้ม การวัดคลื่นหัวใจไฟฟ้า หรือ ECG ระดับออกซิเจนในเลือด รวมทั้งการติดตั้งแอปพลิเคชันเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความสามารถในการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก

นพ.สุวาณิช เตรียมชาญชูชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ถ่ายทอดประสบการณ์ประโยชน์ของ Apple Watch กับผู้สูงอายุที่ชื่นชอบฟีเจอร์การใช้งานหลักๆ 3-4 ฟีเจอร์ โดยเฉพาะฟีเจอร์การวัดคลื่นหัวใจไฟฟ้า หรือ ECG ซึ่งในอดีตไม่มีฟีเจอร์นี้เมื่อคนไข้รู้สึกว่าใจสั่นหวิว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุให้หลอดเลือดตีบเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาต ต้องมาทำการตรวจวัดที่โรงพยาบาลอย่างเดียว

...

แต่เมื่อมีฟีเจอร์นี้ คนไข้สามารถวัดได้ที่บ้านเพียง 30 วินาทีก็ทราบผลสามารถตรวจจับได้เร็ว และเก็บบันทึกไว้มาปรึกษาแพทย์ได้เลย จาก ประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าคนไข้ 4 คน สามารถ วัดถึงความผิดปกติการเต้นของหัวใจและรีบมาตรวจเพิ่มเติมอย่างละเอียด และเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที แต่ก็มีจำนวนมากกว่า 30-40 รายที่รู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดปกติและเกิดความวิตกกังวลแต่เมื่อตรวจวัดแล้วไม่พบความผิดปกติทำให้คลายความวิตกกังวลได้ ทำให้คนไข้ผู้สูงอายุนิยมใช้และติดตามสุขภาพของ
ตนเองได้

นอกจากนี้ กิจกรรมสุข-ภาพฟิตเนส ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ใช้ง่ายที่สุดเพื่อติดตามการออก กำลังกายการตั้งค่าต่างๆผู้สูงอายุ นิยมใช้กันมาก ขณะที่ในยุคการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และฝุ่น PM 2.5 คนไข้นิยมใช้วัดค่าออกซิเจนในเลือดด้วย

นพ.สุวาณิช กล่าวว่า ตนแนะนำให้คนไข้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อวัดในช่วงที่รู้สึกว่าการหายใจผิดปกติ เต้นผิดจังหวะ เป็นต้น แต่ปัญหาสำหรับผู้สูงอายุมากๆ มือมักจะสั่นทำให้วัดค่าไม่ได้ พร้อมกับให้คำแนะนำว่าหากเพิ่มฟีเจอร์วัดความดันได้ด้วยจะช่วยทางการแพทย์ได้มาก รวมไปถึงการตรวจจับการล้ม หากสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจได้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยคนไข้ได้มาก

“สมัยก่อนต้องวิ่งมาโรงพยาบาลตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าหรือต้องใช้โฮลเดอร์มอนิเตอร์ติดตัวตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อเก็บข้อมูล แต่เดี๋ยวนี้ไม่ต้อง ส่วนตัวของผมเองได้แนะนำให้ผู้สูงอายุที่บ้านใช้เพื่อกิจกรรมดูแลการออกกำลังกาย ลูกๆสามารถติดตามข้อมูลได้เลย”

ทางด้าน “เมจิ อโณมา คุก” ผู้เชี่ยวชาญการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ ได้ให้คำแนะนำการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุ โดยเริ่มต้น กิจกรรมการเดินเป็นการออกกำลังกายดีที่สุดอาจจะเริ่มวันละ 10 นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มไปเรื่อยๆ เป็นวันละ 30-45 นาที พร้อมกับการตั้งค่าใน Apple Watch กับเป้าหมายของกิจกรรมเพื่อสร้างแรงจูงใจ และบางครั้งต้องเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเช่นอาจไปพักผ่อนต่างจังหวัด ไปเที่ยวทะเล ทำให้กิจกรรมการออกกำลังกายไม่น่าเบื่อ

...

ขณะเดียวกันได้แนะนำกิจกรรมการเต้นลีลาศ เป็นทาง เลือกหนึ่งที่น่าสนใจที่จะทำให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมร่วมกับคนวัยเดียวกัน ซึ่งจะมีผลดีทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เต้นกับเพลงโปรดสมัยก่อน จดจำท่วงท่าเต้นต่างๆ ซึ่งเป็นการฝึกสมองไม่ให้เป็นอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย

รวมทั้งรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์มีโปรตีนจากพืช ปลา ไก่ ไม่รับประทานเนื้อแดง และงดรับประทานน้ำตาลทรายขาวโดยเลือกความหวานจากผลไม้เช่นกล้วยที่ไม่สุกเกินไป มะละกอ แก้วมังกร เป็นต้น.