Credit : ALMA (ESO/NAOJ/NRAO), K. T. Inoue et al

เป็นที่รู้กันว่าหลุมดำจะมีแรงดึงดูดต่อวัตถุรอบข้าง หลุมดำบางแห่งมีสสารแตกตัวเป็นไอออนที่เป็นก๊าซหรือของเหลวพ่นออกมาอย่างรวดเร็ว ก๊าซหรือของเหลวพ่นออกมา อย่างเร็วมากจะทำให้เมฆก๊าซพัดกระจายออกไป ส่งผลให้หยุดยั้งการก่อตัวของดวงดาว

เพื่อให้เข้าใจวิวัฒนาการของกาแล็กซีสิ่งสำคัญจึงต้องสังเกตการทำงานร่วมกันระหว่างเมฆก๊าซและก๊าซหรือของเหลวพ่นออกมาอย่างรวดเร็วจากหลุมดำ ซึ่งก็เป็นเรื่องยากที่จะหาหลักฐานที่ชัดเจนของปฏิสัมพันธ์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคต้นของจักรวาลหรือเอกภพ แต่เพื่อให้ได้หลักฐานที่ชัดเจน ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ญี่ปุ่น ได้ใช้กล้อง โทรทรรศน์วิทยุขนาดยักษ์อัลมา (Atacama Large Millimeter/sub-millimeter Array- ALMA) สังเกตวัตถุที่ชื่อ MG J0414 + 0534 มีลักษณะโดดเด่นของเส้นทางของแสงที่เดินทางมาสู่โลก ซึ่งพบว่ามีความบิดเบี้ยวอย่าง มาก จากเลนส์ความโน้มถ่วง

Credit : Kindai University
Credit : Kindai University

...

วัตถุ MG J0414 + 0534 ยังมีหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มีก๊าซหรือของเหลวพ่นออกมาอย่างรวดเร็ว จาก 2 ขั้วที่ใจกลางกาแล็กซี ทีมได้สร้างภาพจริง ของเมฆก๊าซและก๊าซหรือของเหลวที่พ่นออกมาอย่างรวดเร็ว โดยพบว่าเมฆก๊าซที่อยู่บนสิ่งที่พ่นออกมานั้น เคลื่อนด้วยความเร็วสูงถึง 600 กม./วินาที ทำให้ MG J0414 + 0534 เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมต่อความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับกระบวนการวิวัฒนาการของกาแล็กซีในเอกภพยุคแรก.