สภาพน้ำท่วมขังทั้งจากฝนตกหนักและน้ำไหลหลากในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ตัวเลขผู้ป่วยโรคฉี่หนู หรือเลปโตสไปโรซีส มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินลุยน้ำย่ำโคลนหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน เพราะเชื้อก่อโรคของโรคนี้ มักปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำขัง พื้นดินที่เปียกชื้น
ต้นตอของโรคเลปโตสไปโรซีส เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “เลปโตสไปร่า” ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นรูปเกลียวสว่าน สามารถเจาะไชเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือการไชเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน รวมทั้งยังสามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนด้วย

เชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปร่า ส่วนใหญ่จะพบในปัสสาวะของหนูรวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น สุนัข แมว โค แพะ แกะ ซึ่งเมื่อสัตว์เหล่านี้ฉี่ลงน้ำ แบคทีเรียก็ถูกปล่อยลงในน้ำ และเจาะไชเข้าสู่ร่างกายคนทำให้ป่วยเป็นโรคเลปโตสไปโรซีส หรือฉี่หนู ได้
นอกจากคนที่ต้องย่ำน้ำ ลุยโคลนจะมีโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้แล้ว คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร หรือแม้แต่คนที่ชอบไปเล่นน้ำ ล่องแก่ง เที่ยวตามป่า ตามเขา ก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อเลปโตสไปร่าเข้าสู่ร่างกายได้เช่นเดียวกัน
...

คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะมีอาการแสดงหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ อาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่อง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจมีอาการแทรกซ้อน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย หรืออาการทางสมอง และระบบประสาท ฯลฯ ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
และอย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กๆ เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษา มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้...
การรักษาโรคฉี่หนู จริงๆแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาตามอาการ แต่ต้องไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมากินเอง ทันทีที่มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่องหรือโคนขา ขอให้นึกถึงโรคฉี่หนูเป็นอย่างแรก และถ้าเคยไปย่ำน้ำ ลุยโคลนมาก่อน ให้นึกเลยว่าเป็นโรคนี้แน่นอน

แต่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน หรือเดินลุยน้ำ ย่ำโคลนด้วยเท้าเปล่า โดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลหรือรอยขีดข่วนที่เท้าต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากต้องทำงาน หรือต้องเดินลุยน้ำ ควรสวมรองเท้าบูต หรือสวมถุงมือพลาสติกที่สะอาด หุ้มเท้าเพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสน้ำโดยตรง
ดูแลสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ กรณีมีบาดแผลควรปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ และรีบชำระล้างร่างกายทันทีหลังจากเสร็จจากการทำงานหรือลุยน้ำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการป่วยด้วยโรคฉี่หนูได้ระดับหนึ่ง
ตอบ : ต้องขอเกริ่นก่อนว่า สัตว์เหล่านี้(ที่กล่าวข้างต้น) จะมีเชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) อยู่ในตัวและจะติดเชื้อที่ท่อไต จากนั้นจะปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่แสดงอาการป่วยใดๆเลย ลองนึกภาพตามนะครับ พอฝนตกลงมาก็จะพัดพาเอาเชื้อพวกนี้ไปรวมกันอยู่บริเวณน้ำท่วมขัง เชื้อก็จะอาศัยอยู่ได้ในดินที่ชื้นแฉะ หรือที่มีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ซอกนิ้วมือและเท้า หรือบาดแผล ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำ คนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังนานๆ หรือแม้กระทั่งผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวเดินป่าที่ไปย่ำน้ำขัง ก็อาจมีความเสี่ยงได้

...
ถาม : หลังจากติดเชื้ออาการจะเป็นยังไงบ้าง?
ตอบ : คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ ในผู้ที่มีอาการมักแสดงหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ อาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่อง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง ไตวาย หรืออาการทางสมอง และระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้ (ขอย้ำว่าถึงตายได้ครับ)
ถาม : การรักษา หากมีอาการควรทำอย่างไรบ้าง?
ตอบ : หากท่านมีประวัติในการไปย่ำน้ำท่วมขัง ทำงานเกี่ยวกับการเกษตร หรืองานอื่นๆที่อาจมีความเสี่ยงต่อโรค และมีอาการมีไข้สูงเฉียบพลันหลังลุยน้ำ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่น่องหรือโคนขา ขอให้นึกถึงโรคนี้ และรีบไปสถานพยาบาลใกล้บ้านโรคนี้หากรักษาตั้งแต่ระยะแรกๆ จะมีโอกาสหายดีสูง ซึ่งหากปล่อยให้มีอาการรุนแรงแล้วจึงรักษาอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ที่สำคัญไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมาใช้เอง เพราะอาจเป็นอันตรายจากการแพ้ยา หรือใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง

แนะนำการป้องกันตนเองเบื้องต้น
ถ้าพูดง่ายๆก็คือการหลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน หรือเดินลุยน้ำ ย่ำโคลนด้วยเท้าเปล่า โดยเฉพาะผู้ที่มีบาดแผลหรือรอยขีดข่วนที่เท้าต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ชีวิตคงไม่ง่ายขนาดนั้นเข้าใจว่าหลายท่านอาจจะจำเป็นต้องทำงาน หรือต้องเดินลุยน้ำ ดังนั้น ควรสวมรองเท้าบูต หรือสวมถุงมือพลาสติกที่สะอาด หุ้มเท้าเพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสน้ำโดยตรง ดูแลสุขอนามัยให้สะอาดอยู่เสมอ กรณีมีบาดแผลควรปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ และรีบชำระล้างร่างกายทันทีหลังจากเสร็จจากการทำงานหรือลุยน้ำ.