นายดำรงศักดิ์ เดี่ยววาณิชย์ ผอ.ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อารักขาพืช บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด เผยว่า สภาพอากาศที่ผันผวน รวมถึงปรากฏการณ์เอลนีโญรอบใหม่ ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรเป็นวงกว้าง ทำให้เกิดสภาพความแห้งแล้ง ไม่มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก รายได้เกษตรกรลดลง ดังนั้น ทางบริษัทเราจึงร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถ่ายทอดนวัตกรรมทางชีวภาพ “สารกระตุ้นทางชีวภาพ” (Bio-Stimulant) ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก และนิสิตนักศึกษากว่า 500 คน เพื่อช่วยในการรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง
รศ.ดร.สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยถึงการนำสารกระตุ้นทางชีวภาพมาใช้ในการทำวิจัยว่า เป็นสารที่มีชื่อเรียกว่า “เอ็มซี เซท” สกัดจากสาหร่ายทะเล Ascophylum Nodusum ผลิตด้วยเทคโนโลยี GEA POWER จึงทำให้ได้สาหร่ายสกัดที่มีคุณภาพ อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อพืชในปริมาณสูงและแตกต่างจากที่เคยมีมาก่อน ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างตาดอก ให้ดอกและเกสรสมบูรณ์ ลดการหลุดร่วงของดอกและผล ส่งเสริมการสร้างเมล็ด
...
“ในขณะที่ “เอ็มซี เอ็กซ์ตร้า” เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการปรับสมดุลในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น ใบ ระยะการให้ผลผลิต ทำให้ทรงผลสวยสม่ำเสมอ และเพิ่มวงรอบการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ ยังมี “อีสไบออน” กรดอะมิโนเข้มข้น 62.5% ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ช่วยลดความเครียดของพืชจากสภาวะแห้งแล้ง หนาวจัด หรือสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ให้พืชต่อสู้ได้กับทุกสภาวะอากาศ เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหาร ช่วยให้พืชเจริญเติบโตสมบูรณ์”
ด้าน นางเขียว ผลหลาย เกษตรกรผู้ปลูก บวบเหลี่ยม, มะเขือเทศ, ถั่วฟักยาว บนเนื้อที่ 4 ไร่ บ้านใคร่นุ่น ต.กุดขอนแก่น บอกเสริมว่า ปลูกบวบเหลี่ยม 2 ไร่ ปลูกมะเขือเทศ 2 ไร่ และปลูกถั่วฝักยาวอีก 9 ร่อง หรือประมาณ 1 งาน เดี๋ยวนี้คนในหมู่บ้านใช้แต่ “อีสไบออน” คนไหนว่าดีในหมู่บ้านรู้จักหมด ในหมู่บ้านต่างก็พากันมาใช้ ใช้แล้วรากเดินยอดออก ใช้ควบกับระบบน้ำหยด ทำให้ไม่ต้องเดินใส่ปุ๋ย ไม่ต้องสูบน้ำราด ใส่ปุ๋ยไว้ในระบบน้ำหยดมันไปตามสาย ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีก็ปิด ช่วยประหยัดเวลาได้เป็นอย่างดี
...
ส่วน นายอุทยาน คำภาหล้า เกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเทศ, ถั่วฟักยาว, แตงกวา บนเนื้อที่ 3 ไร่ บ้านใคร่นุ่น ต.กุดขอนแก่น อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น บอกว่า เดิมทีการทำแปลงเมื่อก่อนนี้จะเป็นการปล่อยน้ำแล้วหว่านปุ๋ยตาม ทำให้ปุ๋ยไหลไปกับน้ำ หญ้าขึ้นเยอะ แต่พอเปลี่ยนมาใช้ระบบแบบน้ำหยด ดูแลรักษาง่ายผลผลิตต่างกันเยอะ และหลังจากได้ใช้สารกระตุ้นทางชีวภาพมาฉีดพ่นทดสอบในแปลงผลผลิตออกมาเพิ่มขึ้น ประมาณ 20-30%.
คลิกอ่าน “ข่าวเกษตร” เพิ่มเติม