ยกตัวอย่างการใช้กฎหมายนี้ กรณีเป็นความผิดกรรมเดียวแต่หลายบท ถ้าดูตาม พ.ร.บ.ค่าปรับเป็นพินัย มาตรา 15 ที่กำหนดให้ใช้กฎหมาย บทที่กำหนดค่าปรับเป็นพินัยสูงสุด

หากปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ลงโทษปรับพินัยกับผู้กระทำผิดแล้ว และชำระค่าปรับทั้งหมดหรือบางส่วน ในความผิดทางพินัยบทใดบทหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นค่าปรับพินัยสูงสุดหรือไม่?

ให้ความผิดทางพินัยสำหรับความผิดบทอื่นเป็นที่ยุติ

เช่น สมมติ นาย ก.ขนส่งสัตว์ รถที่บรรทุกมาไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ไม่มีการบำรุงรักษา การกระทำเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ มาตรา 24 และประกาศกระทรวงเกษตรเรื่องการขนส่งสัตว์ หรือนำสัตว์ไปใช้งาน มีโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

และการกระทำเดียวกันยังเข้าข่ายผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 6 ปรับไม่เกิน 500 บาท หากเจ้าหน้าที่มีคำสั่งปรับเป็นพินัยแก่ นาย ก.ตาม พ.ร.บ.จราจรและชำระค่าปรับครบ ย่อมทำให้การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์เป็นอันยุติไปด้วย

เมื่อปรับนาย ก.ข้อหาเล็ก ทำให้ข้อหาใหญ่กว่ายุติไปด้วย?!

เรื่องดังกล่าวที่ว่ามาข้างต้น หาอ่านได้ในวารสาร “ข่าวเนติบัณฑิตยสภา” ผลิตโดยศูนย์ประชาสัมพันธ์เนติบัณฑิตยสภา ที่มี อัยการปรเมศวร์ อินทรชุมนุม เป็นประธานฝ่ายอำนวยการ ฉบับเดือน ธ.ค.65 และ ม.ค.66

ตีพิมพ์เผยแพร่บทความเรื่อง “สาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยค่าปรับเป็นพินัย” เขียนโดย นายพลวัฒน์ โรจน์บุญฤทธิ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษสำนักงานวิชาการสำนักงานอัยการสูงสุด กรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ เขียนไว้อย่างละเอียดมีอยู่ 2 ตอน

...

สามารถศึกษาค้นคว้าเพื่อการใช้งาน หรือใช้ศึกษาทำวิทยานิพนธ์ หรือแค่รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามไม่มีใครว่า ชาวบ้านทั่วไปก็หาอ่านได้ที่ https://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_web/1_%20Kongklang/Pra_chasamphan/khao_netibandityotpha/2023/Jan2023.pdf 

รู้กฎหมายแบบชาวบ้านๆ เป็นที่พึ่งตนเองและช่วยเหลือคนอื่นก็ได้

เพราะกฎหมายเป็นเครื่องมือทำให้สังคมเราสงบสุข?

สหบาท