จากลูกศิษย์มาเป็นครูถ่ายทอดวิชาความรู้แก่รุ่นน้องจำนวนไม่น้อย
พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. เคยเป็นทายาท 30 นักสืบนครบาล ตามหลักสูตรสืบสวนคดีอาญารุ่นพิเศษของ บช.น. เมื่อปี 2539 ตามวิสัยทัศน์ของ พล.ต.ท.โสภณ วาราชนนท์ แม่ทัพนครบาลในสมัยนั้น
ว่ากันว่าเป็น “หลักสูตรดีสุด” ตั้งแต่องค์กรตำรวจจัดฝึกอบรมกันขึ้นมา
เมื่อได้นั่งผู้นำนักสืบเมืองหลวง พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ตัดสินใจ “ปัดฝุ่นพิมพ์เขียว” เพื่อสร้างตำราเล่มใหม่เอาคำสอนของครูบาอาจารย์เก่า นอกจาก พล.ต.ท.โสภณ วาราชนนท์ ยังมี พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ พล.ต.ต.ปรีชา ธิมามนตรี และ พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข มาประยุกต์ใช้ให้ทันโลกปัจจุบัน
นำไปสู่ โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการสืบสวนคดีอาญา ขั้นพิเศษ บช.น. นำเสนอ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. เห็นชอบส่งต่อ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. พิจารณาอนุมัติหลักการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านเทคโนโลยีการสืบสวน
ด้วยเพราะปัจจุบันนักสืบระดับปฏิบัติการมีจำนวนไม่เพียงพอต่ออาชญากรรมที่เพิ่มมากขึ้น และมีรูปแบบการกระทำความผิดที่ซับซ้อนทวีความรุนแรง
นักสืบยุคนี้จำเป็นต้องปรับตัว ควรมีความสามารถในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การคิดอย่างมีระบบขั้นตอน สร้างสรรค์ มีทักษะร่วมมือกับผู้อื่น มีความฉลาดทางอารมณ์ คิดและวิเคราะห์ยืดหยุ่น เพื่อรับมือสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด
ตลอดจนเป็นการปลูกฝังคุณธรรม อุดมการณ์ จิตวิญญาณและการอุทิศตนของตำรวจฝ่ายสืบสวนให้เข้มข้น ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรที่มีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ
เปิดโอกาสรับคัดเลือกข้าราชการตำรวจระดับรอง สว. หรือเทียบเท่า ชั้นยศ ร.ต.ท.-ร.ต.อ. ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเข้าฝึกอบรมเพียง 30 คน ระยะเวลา 20 สัปดาห์ ระหว่างวันที่ 19 มี.ค.2567-วันที่ 2 ส.ค.2567
...
วางรากฐานสร้างต้นแบบนักสืบรุ่นใหม่เป็นทายาทต่อไป.
สหบาท
คลิกอ่านคอลัมน์ "ส่องตำรวจ" เพิ่มเติม