ภาวะโลกร้อนวันนี้ ทำให้หลายสรรพสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลงกลายพันธุ์ ไม่เพียงจะมีโรคแปลกใหม่ที่ระบาดมาสู่คนเท่านั้น ในวงการเกษตรกำลังเจอปัญหานี้เช่นกัน...วันนี้องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำลังจับตาการแพร่ระบาดของฝูงตั๊กแตนทะเลทรายนับพันล้านตัว

ที่บุกทำลายผลผลิตทางการเกษตรในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกกลาง ลามมาจนถึงอินเดียตะวันตก อาจมีสิทธิ์ที่จะบินมาอาละวาดในบ้านเราได้ไม่ต่างจากหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดก็เป็นได้

ตั๊กแตนทะเลทราย (Desert Locust) ชื่อวิทยาศาสตร์ Schistocerca Gregaria จัดเป็นตั๊กแตนหนวดสั้นอยู่ในวงศ์ Arcrididae เมื่อออกจากไข่ใหม่ๆลำตัวจะมีสีเทา แต่เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มลำตัวจะเป็นสีเหลือง และเมื่อโตเต็มวัยจะมีลายจุดสีดำปรากฏอยู่บนสีเหลือง

ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในศัตรูพืชที่อันตรายที่สุด เนื่องจากฝูงตั๊กแตนสามารถบินได้ระยะทางวันละหลายร้อยกิโลเมตร...สำหรับบ้านเรา ยังไม่เคยพบการระบาดของตั๊กแตนชนิดนี้มาก่อน

แต่ยังมิอาจวางใจได้ เพราะหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดเราก็ไม่เคยเจอมาก่อนเช่นกัน

...

ประกอบกับตั๊กแตนชนิดนี้ได้แพร่ระบาดเข้ามาทางตะวันตกของอินเดีย ซึ่งมีลักษณะอุณหภูมิและภูมิประเทศคล้ายภาคเหนือและภาคตะวันตกของไทย หากตั๊กแตนปรับตัวอยู่ได้ อาจจะสามารถแพร่ขยายมาทางตะวันออกของอินเดีย บังกลาเทศ และเมียนมาได้ ซึ่งต้องใช้เวลาอีก 1-3 เดือน กว่าจะถึงบ้านเรา

แต่หากตั๊กแตนทะเลทรายไม่สามารถปรับตัวแพร่พันธุ์ในเขตร้อนชื้นอย่างบ้านเรา...ถือเป็นโชคของเกษตรกรไทย.