ผศ.ดร.พงศ์ธร คงมั่น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ปกติขี้แป้งหรือกากมันสำปะหลังมีโปรตีนแค่ 1-2% การนำมาใช้เลี้ยงสัตว์มีประโยชน์แค่ช่วยให้อิ่มอยู่ท้อง
คุณค่าทางโภชนาการไม่พอกับความ ต้องการของร่างกายสัตว์ ทำให้การเจริญเติบโตได้ไม่ดี เลยเป็นเหตุให้โรงงานอาหารสัตว์จึงต้องนำกากถั่วเหลืองซึ่งมีโปรตีนสูง 44-45% ที่มีราคาแพง นำเข้าจากต่างประเทศมาผสมกับกากมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มโปรตีน
“ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังเป็นผงชูรส มีน้ำกากผงชูรสเหลือทิ้งเป็นขยะ ทั้งๆที่มีโปรตีน 26-30% มีกรดอะมิโนกลูตามิคที่ช่วยกระตุ้นให้สัตว์เกิดความอยากกินอาหาร และยังช่วยให้จุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องย่อยอาหารทำงานได้ดี จากคุณสมบัติดังกล่าว เราจึงศึกษาวิธีนำน้ำกากผงชูรสมาผสมในกากมันสำปะหลัง”
ดร.พงศ์ธร บอกว่า เพื่อให้ง่ายต่อการขนส่งและการใช้งาน จึงนำกากน้ำผงชูรสไปผ่านกระบวนการทำให้แห้งเป็นผงสีน้ำตาล จากนั้นนำไปผสมกับกากมันสำปะหลัง เพื่อลดการน้ำเข้ากากถั่วเหลืองที่มีราคา กก.ละ 18 บาท (ราคาปัจจุบัน) ในขณะที่น้ำกากผงชูรสแทบไม่มีราคา
...
และเมื่อนำอาหารสูตรกากมันฯผสมกากผงชูรสไปทดลองเลี้ยงแพะ เพื่อทดสอบเปรียบเทียบ ดร.พงศ์ธร พบว่า...แพะที่ถูกเลี้ยงด้วยกากมันฯผสมถั่วเหลือง 25% และอาหารพืชสด มีอัตราเจริญเติบโตวันละ 50 กรัม
ในขณะที่แพะถูกเลี้ยงด้วย กากมันฯผสมกากผงชูรส และผสมถั่วเหลืองลงไปแค่ 5% ควบคู่กับอาหารพืชสด นอกจากแพะมีอัตราการเจริญเติบโตวันละ 74.2 กรัม สุขภาพทั่วไปดีขึ้น จนสามารถสังเกตภายนอกอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ ขนเป็นมันเงา ผิวหนังดี ดวงตาวาวสดใส
ช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนค่าส่วนผสมของถั่วเหลืองลงไปได้มากถึง 50%.