ชุมชนดาราศาสตร์ก็มีการถกเถียงเรื่อยมาว่าดวงอาทิตย์ซึ่งถูกอธิบายว่าเป็นดาวฤกษ์สีเหลือง จริงๆแล้วเป็นดวงอาทิตย์หรือเป็นเพียงดวงดาวที่คล้ายดวงอาทิตย์กันแน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับกิจกรรมความเป็นแม่เหล็ก ซึ่งการศึกษาหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าดาวฤกษ์ที่คล้ายกับดวงอาทิตย์ มีกิจกรรมความเป็นแม่เหล็กมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยนำโดยนักดาราศาสตร์จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์อวกาศในโปรตุเกส เผยได้อาศัยข้อมูลดาวฤกษ์มีคุณสมบัติคล้ายกับดวงอาทิตย์ จากยานอวกาศเคปเลอร์ (Kepler) ขององค์การนาซา, ดาวเทียมไกอา (Gaia) ขององค์การอวกาศยุโรป (อีเอสเอ) มาบวกรวมกันและนำข้อมูลดาวฤกษ์มาเปรียบเทียบกับข้อมูลกิจกรรมจากเครื่องมือ VIRGO/SPM บนดาวเทียมโซโห (SOHO) หนึ่งในดาวที่ถูกเลือกมาจากคลังข้อมูลยานเคปเลอร์ คือ ดอริส (Doris) ที่แม้ว่าจะมีคุณสมบัติคล้ายกับดวงอาทิตย์ก็ตาม แต่ความแตกต่างคือความเป็นโลหะ ผลของความเป็นโลหะนำไปสู่โซนการพาความร้อนที่ลึกขึ้น ทำให้เกิดไดนาโมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงนำไปสู่วงจรกิจกรรมที่แรงขึ้น อีกทั้งมันยังหมุนรอบตัวเองช้ากว่าดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ ทีมได้เลือกดาวที่มีลักษณะคล้ายกับดอริส โดยไม่ได้พิจารณาความเป็นโลหะในการเลือก แล้วก็พบว่ามีดาวดวงนี้มีความเป็นโลหะสูงมากกว่า
การศึกษาทั้ง 2 แบบมีผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันในเรื่องกิจกรรมของแม่เหล็กที่แรงมากกว่า นั่นหมายความว่ากระบวนการห้ามด้วยแม่เหล็กทำให้ระยะเวลาการหมุนรอบตัวเองช้าลง ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมดาวดอริสจึงหมุนรอบตัวเองช้ากว่าดวงอาทิตย์ ทั้งๆที่มีลักษณะคล้ายกันมากและอายุน้อยกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย ฉะนั้น สิ่งที่นักวิจัยค้นพบก็คือ มีดาวฤกษ์ที่มีกิจกรรมมากกว่าดวงอาทิตย์ และนำเสนอว่าดวงอาทิตย์ของเราก็เป็นดาวฤกษ์ธรรมดา.
...
(Credit : Filipe Pires (Porto Planetarium - Ciência Viva Center & Instituto de Astrofísica e Ciências do Espaço)