ปัจจุบันการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ หรือ “แวเอเบิล” (wearable) เชิงพาณิชย์ ต้องใช้กระบวนการที่มีราคาแพง เช่น ต้องผ่านห้องปลอดเชื้อ จึงมีนักวิจัยพยายามพัฒนาใช้วิธีพิมพ์จอโครงสร้างคดเคี้ยวของแผงพลังงานไฟฟ้า แบบเดียวกับการพิมพ์เสื้อยืด ซึ่งการใช้วิธีพิมพ์สกรีนแผงวงจรมีข้อดีต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เนื่องจากใช้งานง่าย การตั้งค่าไม่ซับซ้อน เหมาะที่จะผลิตได้จำนวนมาก และราคาถูก

ทีมวิจัยนำโดยผู้เชี่ยวชาญจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สเตท ในสหรัฐอเมริกา เผยเมื่อเร็วๆนี้ ถึงการสร้างวิธีการพิมพ์จอแผงวงจรพลังงานไฟฟ้าที่ยืดหยุ่น ทนทาน และยังถ่ายโอนไปยังเสื้อผ้าได้ แปะวางบนผิว หนังมนุษย์ได้โดยตรง เพื่อใช้ติดตามตรวจสอบสุขภาพในโรงพยาบาลหรือจากที่บ้าน ทีมระบุว่า ได้ใช้กระบวนการหลายขั้นตอนในการเคลือบโพลิเมอร์และหมึกโลหะ เพื่อสร้างโครงสร้างอิเล็กโทรดหรือขั้วไฟฟ้าที่ขดไปมาเหมือนงู แม้ว่ารูปแบบ บางๆที่เกิดขึ้นจะดูบอบบาง แต่อิเล็กโทรดนั้นไม่เปราะบาง ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า สามารถยืดออกได้ 30% และงอได้ถึง 180 องศา

ทีมได้รายงานการวิจัยลงวารสาร ACS Applied Materials and Interfaces โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการพิมพ์หน้าจออิเล็กโทรด ซึ่งอิเล็กโทรดหลายตัวถูกพิมพ์แผ่นสไลด์แก้วที่ผ่านการเคลือบสีแล้ว ช่วยให้ลอกออกและถ่ายโอนไปยังผ้าหรือวัสดุอื่นๆ ได้ง่ายดาย หลังจากพิมพ์อิเล็กโทรดแล้ว นักวิจัยได้ย้ายอิเล็กโทรดไปบนผ้ากาว ให้อาสาสมัครลองแปะลงบนผิวหนัง อิเล็กโทรดไร้สายจะบันทึกอัตราการเต้นของ
หัวใจและการหายใจอย่างแม่นยำ และส่งข้อมูลไปยังโทรศัพท์มือถือ.

Credit: Washington State University