Credit : NASA
หลุมโอโซนที่ค้นพบในปี พ.ศ.2528 ได้ก่อตัวขึ้นทุกฤดูใบไม้ผลิในชั้นบรรยากาศที่สูงเหนือทวีปแอนตาร์กติกา นักวิจัยอธิบายไว้ว่าการลดลงของโอโซนทำให้อากาศเย็นลง ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระแสน้ำวนขั้วโลกและส่งผลกระทบต่อลมลงไปสู่ชั้นล่างสุดของชั้นบรรยากาศโลก
มีงานวิจัยเผยว่า สารเคมีที่ทำลายชั้นโอโซนของโลก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการไหลเวียนของอากาศในซีกโลกใต้ ล่าสุด สถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (CIRES) พบว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้หยุดชั่วคราวและอาจย้อนกลับ เนื่องจากพิธีสารมอนทรีออล (Montreal Protocol) ที่เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการยุติการใช้สารเคมีทำลายชั้นโอโซน อย่างสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน (chlorofluorocarbons-CFCs)
สิ่งเหล่านี้เริ่มเมื่อราวๆปี 2543 นักวิจัยพบว่าความเข้มข้นของสารเคมีในชั้นสตราโตสเฟียร์เริ่มลดลงและหลุมโอโซนก็เริ่มฟื้นตัว การลดลงของโอโซนได้เปลี่ยนกระแสลมกรดละติจูดกลาง รวมถึงพื้นที่แห้งแล้งชายขอบของเขตร้อนทางขั้วโลกใต้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการพิสูจน์สมมติฐานของนักวิจัยว่าการกู้คืนโอโซนได้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนของอากาศในชั้นบรรยากาศ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ.
...