ภาพ : (c) Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences (2019). DOI: 10.1098/rspb.2019.1336
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิจัยนานาชาติได้รายงานลงวารสารของราชสมาคมกรุงลอนดอนฉบับบี (Proceedings of the Royal Society B) ถึงการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ หรือฟอสซิล (fossil) โครงกระดูกชิ้นแรกของฉลามโบราณที่ชื่อโฟโบดัส (Phoebodus) ในเทือกเขาแอตลาสตอนล่างของโมร็อกโก โดยได้อธิบายเปรียบเทียบกับฟอสซิลดังกล่าวกับฉลามและปลายุคใหม่
ก่อนหน้านี้ มีการค้นพบฟัน 3 ซี่ของโฟโบดัสที่สูญพันธุ์ไปในยุคต้นคาร์บอนิเฟอรัส แต่ฟอสซิลโครงกระดูกที่พบใหม่มีสภาพสมบูรณ์ ระบุว่ามีอายุประมาณ 370 ล้านปี ซึ่งการพบซากฟอสซิลฉลามในเขตเทือกเขาของโมร็อกโกก็เนื่องจากครั้งหนึ่งที่แห่งนี้เคยเป็นแอ่งน้ำทะเลตื้น นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบกะโหลกและชิ้นส่วนของโฟโบดัสอีกหลายสายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน และในการศึกษาฟอสซิลที่พบใหม่ นักวิจัยเผยว่าเมื่อฉลามตัวนี้ยังมีชีวิต มันมีรูปร่างผอมยาวเกือบเหมือนปลาไหล กะโหลกแบน กรามยาว แต่ก็มีความคล้ายคลึงกับฉลามยุคปัจจุบัน

...
นักวิจัยนำเสนอว่าความคล้ายคลึงกันระหว่างฉลามโบราณกับฉลามยุคใหม่ อาจจุดประเด็นคิดบางอย่างแก่นักวิจัยเกี่ยวกับวิธีที่โฟโบดัสล่าเหยื่อ.