ภาพ : CC0 Public Domain

เราต่างรู้ว่าพืชพึ่งพาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการที่พืชผลิตอาหารที่ต้องการเพื่อความอยู่รอด แต่การศึกษาล่าสุดจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยแฮเรียตวัตต์ในประเทศสกอตแลนด์ เผยว่า ตอนนี้พบแนวโน้มที่เป็นไปได้เกี่ยวกับความหายนะของพืชจำนวน 8,000 ชนิดจาก 23,000 สายพันธุ์ที่เติบโตในระบบทุ่งหญ้าสะวันนา (savannah) ของทวีปแอฟริกา

การวิจัยครั้งใหม่ชี้ให้เห็นว่านอกจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นแล้ว ระดับก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในพืชพรรณบนโลก ทีมวิจัยได้วิเคราะห์สารเคมีที่พบในหิน ซึ่งบ่งชี้ถึงสารอินทรีย์สำหรับสิ่งมีชีวิตครั้งโบราณ และติดตามการเจริญเติบโตของพืชในแถบแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พวกเขาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในพื้นที่เขียวชอุ่มของภูมิภาคนี้

ทีมวิจัยประเมินว่าอัตราการสูญเสียของชุมชนพืชในระบบทุ่งหญ้าสะวันนาในอีก 100 ปีข้างหน้าอาจจะสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา มากกว่า 15,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมลพิษจากคาร์บอนที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ได้แตะระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนในปีที่แล้ว ทำให้คาดว่าระดับคาร์บอนไดออกไซด์จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้.