ธุรกิจเหมืองแร่ในประเทศไทย

Business & Marketing

Marketing & Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

ธุรกิจเหมืองแร่ในประเทศไทย

Date Time: 9 ม.ค. 2561 05:01 น.

Summary

  • ในทวีปยุโรปตอนกลาง มีการทำเหมืองแร่โพแทช เป็นอุตสาหกรรมหลักเก่าแก่มานาน โดยเฉพาะประเทศ เบลารุส เป็นประเทศเล็กๆ แต่สามารถนำแร่โพแทชมาผลิตเป็นปุ๋ยส่งออก

Latest

“ไฮแอท รีเจนซี่ฯ” ขานรับเทรนด์ Gastronomy Tourism หยิบทุเรียนหมอนทอง จัดแคมเปญ ชุดน้ำชายามบ่าย

ในทวีปยุโรปตอนกลาง มีการทำเหมืองแร่โพแทช เป็นอุตสาหกรรมหลักเก่าแก่มานาน โดยเฉพาะประเทศ เบลารุส เป็นประเทศเล็กๆ แต่สามารถนำแร่โพแทชมาผลิตเป็นปุ๋ยส่งออก ได้มากกว่า 10 ล้านตันต่อปี พอๆกับการส่งออกข้าวของบ้านเรา ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก

วิธีการทำเหมืองใน เบลารุส ใช้วิธีการขุดเจาะเอาแร่บางส่วนออกมา และเว้นระยะให้ส่วนที่เหลือทำหน้าที่เป็นเสาค้ำยันเพื่อทำให้อุโมงค์ที่ทำเหมืองแข็งแรงมากขึ้น ควบคุมให้มีการลดระดับของผิวดินให้น้อยที่สุด จึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างทางวิศวกรรมและลักษณะธรรมชาติ ในบริเวณเหมืองหรือพื้นที่ใกล้เคียง

ปัจจุบันเหมืองแร่โพแทชแห่งแรกของ เบลารุส อยู่ที่เมือง โซลิกอร์ส ถูกพัฒนาจนได้รับความเจริญ เป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว มหาวิทยาลัย ร้านอาหาร โรงแรม เป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของ เบลารุส ไปแล้ว ที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้ก็คือ สถานบำบัดรักษาโรคภูมิแพ้และหอบหืด โดยใช้อุโมงค์ของเหมืองใต้ดินที่เสร็จสิ้นจากการขุดแร่แล้วมาปรับเป็นสถานบำบัดโรคภูมิแพ้ ซึ่งผลจากการวิจัยของ รัสเซีย ซึ่งก็มีเหมืองโพแทชเช่นกัน ระบุว่า ละอองเกลือ สามารถบรรเทาอาการของโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้จริง

มีนักท่องเที่ยวจำนวนหลายหมื่นคนในแต่ละปี จะเดินทางไปท่องเที่ยวและรักษาบำบัดอาการภูมิแพ้ ที่กลายเป็นธุรกิจต่อเนื่องจาก การทำเหมือง กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศ เบลารุส ได้จำนวนมหาศาล

รอบๆบริเวณเหมืองโพแทชได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพ นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้อีกทางหนึ่งแล้วยังจะเป็นการพิสูจน์ยืนยันถึงสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นอันตรายอีกด้วย

เป็นที่น่ายินดีว่า ประเทศไทย ก็กำลังจะมีเหมืองโพแทชขนาดใหญ่ขึ้นที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ดำเนินการโดย บริษัท เหมืองแร่โปแตชอาเซียน ที่เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกในอาเซียน มีการลงนามตั้งแต่ปี 2519 ว่าด้วยความร่วมมือทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เห็นชอบโครงการเหมืองแร่โพแทช ที่ อ.บำเหน็จณรงค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำแร่
ดังกล่าวไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ย ส่งเสริมการเกษตรของประเทศไทย ต่อมาบริษัทได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ในนามบริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียน ได้รับอนุญาตประทานบัตรทำเหมืองจำนวน 9 พันกว่าไร่ เป็นเวลา 25 ปี เมืิ่อเดือนก.พ.ปี 2558 และมีการเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด

ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ เป็นมิติใหม่ของประเทศไทยที่จะเข้าสู่ ยุคของการแข่งขันทุกเม็ด การสร้างรายได้เข้าประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรม การเกษตร เป็นวิธีการที่จะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประ-เทศมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไปในอนาคต ลดการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยจากต่างประเทศ

ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ