กาแล็กซีแคระนั้นโดยปกติแล้วจะประกอบด้วยดาวฤกษ์ไม่กี่พันล้านดวง เมื่อเทียบกับกาแล็กซีที่เจริญเติบโตเต็มที่ เช่น กาแล็กซีทางช้างเผือกของเราก็มีดาวฤกษ์ 200,000–400,000 ล้านดวง ซึ่งมีการวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ว่ากาแล็กซีแคระบางแห่งอาจมีวิวัฒนาการกลายเป็นกาแล็กซีที่โตเต็มที่ ทว่าสิ่งนี้อาจไม่เห็นอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะสังเกตการก่อตัวดาวฤกษ์ในกาแล็กซีแคระในช่วงเวลาที่ผ่านๆมา ถูกขัดขวางโดยความส่องสว่างต่ำ การมีขนาดเล็ก และมวลต่ำของวัตถุในกาแล็กซีแคระแห่งนั้นๆ ทว่า ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขโดยแอสโตรแซต (AstroSat) ดาวเทียมวิจัยดาราศาสตร์ขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) ที่มีความสามารถในการจับภาพความยาวคลื่นหลายช่วงของแสงได้พร้อมๆกัน และยังติดตั้งเทคโนโลยีการถ่ายภาพอัลตราไวโอเลตในแบบระยะชัดลึกไว้ด้วย
ล่าสุด ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติได้สังเกตเห็นเหตุการณ์การก่อตัวของกาแล็กซีแคระหลายแห่ง ห่างจากโลกราว 1,500-3,900 ล้านปีแสง ทีมระบุว่าได้ใช้กล้อง โทรทรรศน์ถ่ายภาพอัลตราไวโอเลตบนแอสโตรแซต ค้นหาหลักฐานการก่อตัวดาวฤกษ์ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลจากแอสโตรแซตนาน 17 ชั่วโมง ก็พบหลักฐานของวัสดุที่เคลื่อนตัวจากขอบด้านนอกของกาแล็กซีแคระ 11 แห่ง เข้าไปยังใจกลางกาแล็กซี ทีมตั้งข้อสังเกตว่านี่คือการสะสมวัสดุเข้าไปด้านในของกาแล็กซี ซึ่งอาจนำไปสู่การก่อตัวดวงดาวและวัตถุอื่นๆ เช่น ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์.
(ภาพประกอบ Credit : Ministry of Sclence & Technology, India)