เพิร์ล มาร์ติน อดีตครูเกษียณชาวแคนาดา ขับรถออกจากบ้านทันที เมื่อได้ยินข่าวการผ่อนปรนให้ผู้คนในเมืองนิวฟันด์แลนด์ และลาบราดอร์ สามารถพบปะกันได้ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด-19
สิ่งแรกที่เธอคิดถึง คือ มิเชล ลูกสาวของเธอ แต่ที่มากไปกว่านั้น น่าจะเป็นหลานสาววัย 4 ขวบ เพเนโลพี ลูกสาวของ
มิเชล มาร์ติน บอกว่า เธอไม่ได้กอดหลานตัวเล็กๆมาตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมแล้ว มันเป็นสิ่งที่ทรมานอย่างมากสำหรับคุณยายอย่างเธอ

หลายประเทศกำลังเริ่มมาตรการผ่อนปรนเรื่องการเว้นระยะห่างทางสังคม โดยสร้างกรอบและกฎเกณฑ์การพบปะกันของผู้คนแบบใหม่ ที่เรียกว่า Bubbles Social หรือสังคมฟองอากาศ
หลายคนอาจจะสงสัยว่า สังคมฟองอากาศ คืออะไร
ดร.โจส์ชัว มูน จากมหาวิทยาลัยซัสเซกส์ อธิบายง่ายๆว่า สังคมฟองอากาศ จริงๆแล้วก็คือการจำกัดจำนวนผู้คนที่คุณจะพบปะหรือสังสรรค์ร่วมกัน เช่น คนใน ครอบครัว ครอบครัวหนึ่งกับอีกครอบครัวหนึ่งที่ใกล้ชิด โดยแต่ละครอบครัวหมายถึงฟองอากาศ แต่ละฟอง และคุณสามารถกำหนดได้ว่า ฟองอากาศของคุณจะไปเจอกับฟองอากาศของใคร แต่ต้องไม่เพิ่มจำนวนคนมากขึ้นเท่านั้นเอง
...

ขณะที่นักสังคมวิทยาทั่วโลกมองว่า ผู้คนที่ต้องอยู่บ้านเป็นเวลานานหลายเดือน อาจมีความต้องการที่จะเจอะเจอเพื่อนฝูง เพื่อที่จะได้พบปะพูดคุย แต่จำเป็นที่จะต้องมีข้อจำกัดอยู่ เช่น คุณต้องมั่นใจว่าฟองอากาศทั้งของคุณและคนที่คุณ จะไปพบมีความปลอดภัยเพียงพอ แต่ละครอบครัวสามารถเข้าร่วมพบปะสังสรรค์กับอีกครอบครัวได้แต่ทั้งสองฝ่ายต้องเห็นด้วย และมั่นใจว่าไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นความเสี่ยง
“ถ้าคุณสามารถรักษาระยะห่าง มีฟองอากาศที่แข็งแรงเพียงพอ และ จำกัดการพบปะของคุณอยู่เพียงแค่ไม่กี่คน ในฟองอากาศที่คุณมั่นใจ ก็จะเป็นการ ช่วยไม่ให้การแพร่ระบาดของไวรัส รุนแรงไปมากกว่านี้ แต่แน่นอนไม่มีอะไร 100%”

วิลเลียม ฮาเนจจ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยา จากวิทยาลัยสาธารณสุข ฮาร์วาร์ด เตือนว่า การมีสังคมแบบฟองอากาศอาจช่วยให้ผู้คนรู้สึกผ่อนคลายขึ้น แต่ในแง่การระบาดของโรคแล้ว การมีสังคมในลักษณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อโรค
มีตัวอย่างยืนยันเรื่องนี้ในออนทาริโอ เดวิด วิลเลียม ประธานเจ้าหน้าที่การแพทย์ของออนทาริโอ บอกว่า การตัดสินใจที่จะผ่อนคลายกฎทางสังคมนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการระบาดและอัตราการติดเชื้อของคน ขณะนี้มาตรการด้านสาธารณสุขที่สำคัญ คือ อยู่ห่างออกไปหกฟุต อยู่บ้านอย่างมีปฏิสัมพันธ์ น้อยมากที่จะทำให้คุณใกล้ชิดผู้คนมากกว่าหกฟุต

พญ.ไอลีน เดอวิลลา จากโตรอนโต บอกว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือการติดต่อกับคนในครอบครัวที่มี COVID-19 ซึ่งแม้คุณจะยอมรับสังคมแบบฟองอากาศแต่ก็ไม่มีอะไรที่จะทำให้มั่นใจได้ 100% ว่า อีกครอบครัวฟองอากาศหนึ่งจะไม่มีความเสี่ยงจริงๆ ถ้าใครสักคนมีโอกาสไปพบปะหรือสัมผัสกับคนที่มีเชื้อ
...
แนวคิดเรื่องสังคมฟองอากาศกำลังขยายตัวไปในหลายๆประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นนิวซีแลนด์ เยอรมนี อังกฤษ เบลเยียม รวมถึงเกาะเกิร์นซีย์ ดินแดนในปกครองของจักรพรรดิอังกฤษ
และที่ชัดเจนที่สุด คือ การขยายแนวคิดไปสู่ธุรกิจการท่องเที่ยวในวิถีปกติใหม่หรือนิว นอร์มอล ที่เรียกว่า Travel Bubbles หรือ Tourism Bubbles ซึ่งมีหลักคิดง่ายๆ คือ ประเทศใดที่สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้จะสามารถเดินทางไปในประเทศที่สามารถ ควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้เช่นกัน เป็นเรื่องของความมั่นใจระหว่างสองประเทศที่จะเดินทางไปมาหาสู่กัน ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสบายใจมากขึ้น โดยทั้งสองประเทศต้องทำความตกลงร่วมกันอย่างชัดเจน

ประเทศคู่แรกในโลกที่เจรจากันเรื่อง Travel Bubbles คือ นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย ทั้งสอง รัฐบาลตั้งชื่อว่า Tran-Tasman Travel Bubble ที่จะยอมให้มีการเดินทางระหว่างกันของสองประเทศโดยไม่ต้องให้มีการกักตัว แต่ยังคงการตรวจเข้มข้นที่สนามบินของแต่ละประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มอนุญาตให้มีการเดินทางไปมาในบางเมืองก่อน
แต่ที่เร็วที่สุด ที่จะเริ่มในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ คือกลุ่มประเทศในยุโรป เช่น สวิตเซอร์แลนด์ ทำ Travel bubbles กับฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรีย ยกเว้นอิตาลี, ฝรั่งเศสทำ Travel bubbles กับสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี, กรีซ ทำ Travel bubbles กับ 29 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ยกเว้นอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี, กลุ่มสแกนดิเนเวีย นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ ทำ Travel Bubbles ยกเว้นสวีเดนส่วนในเอเชีย ญี่ปุ่น อาจจะทำ Travel Bubbles กับไทย นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เวียดนาม ในเดือน ก.ค.นี้.
