รายงานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร
ไกลโฟเซตเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืช (herbicides) ชนิดไม่เลือกทำลาย ชื่อทางการค้าที่รู้จักมาก คือ ราวนด์อัพ (Roundup) ไกลโฟเซตมีชื่อวิทยาศาสตร์ตาม IUPAC ว่า N-(phosphono methyl glycine) สารไกลโฟเซตอาจอยู่ในลักษณะของผงหรือของเหลว
วิธีการใช้ไกลโฟเซตด้วยการฉีดพ่นและดูดซึมทางใบ หรือการฉีดเข้าที่ลำต้นของวัชพืชที่ต้องการทำลาย มักใช้ในการควบคุมวัชพืชจำพวกหญ้าคา ไมยราบ หญ้าแห้วหมู กก เป็นต้น เมื่อพืชได้รับไกลโฟเซตแล้วจะเกิดการยับยั้งการสร้างโปรตีนของพืช ทำให้ลดการเจริญเติบโตของพืช ไกลโฟเซตยังไปหยุดการทำงานของเอนไซม์และกรดซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและทำให้พืชตายในที่สุด (Handerson et al., 2010)
ความเป็นพิษของไกลโฟเซต จากเหตุที่มีการอ้างโดยเปรียบเทียบค่า LD50 ที่ใกล้เคียงกับเกลือแล้วกล่าวว่า ไกลโฟเซตปลอดภัยเท่ากันนั้น เป็นการนำค่า LD50 ไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง เพราะค่า LD50 เป็นค่าที่ใช้ในการเปรียบเทียบความเป็นพิษของสารเคมี และมีการนำมาใช้จัดกลุ่มของสารเคมีว่ามีพิษระดับใด
เพื่อประโยชน์ในการติดฉลากภาชนะบรรจุในการขนส่งสารเคมีให้ผู้เกี่ยวข้องระมัดระวังในการขนส่ง (เพื่อความปลอดภัย) ไม่ใช่การจัดประเภท สารเคมีเมื่อได้รับระยะยาว
ผลกระทบของไกลโฟเซตต่อการเป็นโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ภายใต้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้เป็นสารที่น่าจะก่อมะเร็งในมนุษย์ (2A) เนื่องจากมีหลักฐานเพียงพอ (sufficient evidence) ว่าก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง และหลักฐานที่หนักแน่น (strong evidence) ว่าก่อให้เกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรม (ทำลายยีนและ/หรือโครโมโซม) แม้ว่า IARC จะถูกกล่าวหาจากสื่อว่าบิดเบือนข้อมูลอย่างไม่โปร่งใสเพราะตัดข้อความ “ไกลโฟเซตไม่ก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง” ออก
...
โดย IARC เปิดเผยว่าข้อความที่ถูกตัดออกนั้นนอกจากขาดหลักฐานที่น่าเชื่อถือแล้ว ยังมาจาก บทความวิชาการที่ถูกเปิดโปงว่าเขียนขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์มอนซานโตแต่ใส่ชื่อนักวิทยาศาสตร์คนอื่นเป็นผู้เขียนแทน เพื่อตบตาว่ารายงานนั้นมาจากนักวิชาการอิสระที่ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์พบว่าไกลโฟเซตสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดที่อาศัยฮอร์โมนเอสโตรเจน (Thongprakaisang et al., 2013) สำนักงานประเมินอันตรายจากสิ่งแวดล้อม รัฐแคลิฟอร์เนีย (Office of Environmental Health Hazard Assessment; OEHHA) ประกาศให้สารไกลโฟเซตเป็นสารก่อมะเร็งที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเพิ่มเติมของกฎหมาย California’s Safe Drinking Water and Toxic Enforcement Act of 1986 (Prop 65) ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้เฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ซึ่งจะบังคับให้สินค้าที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็งตามรายชื่อที่กำหนดไว้ต้องแสดงคำเตือนบนฉลากตามประมวลกฎหมายแรงงาน (Labor code) ของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2560 นอกจากนี้ หลังจากที่ IARC ได้ประกาศว่าไกลโฟเซตเป็นสารก่อมะเร็ง Class 2 A ได้มีบทรายงานวิเคราะห์ผลการวิจัย (review article) ที่น่าสนใจหลายรายงาน (Davoren et al., 2018; Myerx et al., 2016; Tara- zona et al., 2017) Davoren และคณะ (2018) มีความเห็นว่า การที่ IARC ได้จัดให้ไกลโฟเซตเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2A (Probable carcinogen) นักวิทยาศาสตร์จะต้องเร่งศึกษากลไกการออกฤทธิ์ที่อธิบายว่า ไกลโฟเซตเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และแม้ว่าไกลโฟเซตจะมีประโยชน์ด้านเศรษฐกิจการเกษตร แต่สารนี้มีศักยภาพที่จะก่อผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพอย่างมาก
ผลกระทบของไกลโฟเซตต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (EDC) สมาคมต่อมไร้ท่อ สหรัฐอเมริกา (Endocrine society) ระบุว่าเป็นสารที่รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (EDC) (De Long et al., 2017; Omran and Salama, 2016; Cassault-Meyer et al., 2014; Mnif et al., 2011) Myers และคณะ (2018) ได้ร่วมกันวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับผลกระทบของ ไกล-โฟเซตต่อสุขภาพ และได้สรุปข้อตกลงร่วมกันว่า นับตั้งแต่ ค.ศ.1974 จนถึงปัจจุบัน การใช้ไกลโฟเซตเพิ่มขึ้นเป็น 100 เท่า นอกจากใช้ก่อนการเพาะปลูกแล้วยังมีการใช้ก่อนการเก็บเกี่ยว ทำให้วัชพืชดื้อต่อสารนี้ เดิมมีความเชื่อว่าสารนี้ปลอดภัย
แต่การศึกษาวิจัยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและระบาดวิทยา มีความจำเป็นต้องกลับไปพิจารณาใหม่ถึงความเป็นพิษของสารนี้ ไกลโฟเซตมีการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและผลิตผลทางการเกษตร ค่าครึ่งชีวิตของสารนี้ยาวนานกว่าที่เคยเสนอไว้ โดยไกลโฟเซตและเมตาโบไลท์มีการปนเปื้อนในถั่วเหลือง และประชาชนได้รับสารนี้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การประเมิน ADI ของไกลโฟเซตใน USA และ EU ขึ้นอยู่กับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ล้าสมัย และคณะผู้เขียนเสนอถึงความจำเป็นในการสนับสนุน การวิจัยด้านระบาดวิทยา การติดตามการได้รับ และการศึกษาทางพิษวิทยา โดยอาศัยหลักการของต่อมไร้ท่อ
โดยเฉพาะฤทธิ์ Endocrine disrupting
งานวิจัยจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ พบว่าไกลโฟเซตมีฤทธิ์เป็นซีโนเอสโทรเจนอย่างอ่อน (Xenoestrogen) (Thongprakaisang, et al., 2013; Sritana et al., 2018) และในปี 2018 ผลงานวิจัยต่อมาของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์พบว่าไกลโฟเซตสามารถเพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิดที่มีอีสโตรเจนรับอีสโตรเจนแอลฟาได้ ผลการวิจัยของ Mesnage et al. (2017) ยืนยันว่า glyphosate กระตุ้น ตัวรับ Estrogen ชนิดแอลฟาได้ เป็นสารกระตุ้นเซลล์มะเร็งเต้านมชนิดพึ่งฮอร์โมนให้เจริญเติบโตเร็วขึ้น Krüger et al. (2014)
...
และคณะ ในปี ค.ศ.2014 รายงานว่าสามารถตรวจวัดไกลโฟเซตได้ในหมู และพบว่าลูกหมู เมื่อคลอดออกมาพิการ Séralini et al. (2014) และคณะ ได้ศึกษาความเป็นพิษเรื้อรังของไกลโฟเซต โดยเปรียบเทียบผลของการได้รับ Roundup และข้าวโพดที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมให้ต้านพิษของไกลโฟเซตได้ ผลการวิจัยพบว่าไกลโฟเซตมีผลต่ออวัยวะ เช่น เต้านม ตับ และไต เป็นต้น และสรุปว่าไกลโฟเซตเป็น Endocrine disruptor
ผลกระทบของไกลโฟเซตต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น ไตเรื้อรัง เบาหวาน อัลไซเมอร์ ผลงานวิจัยของ Dr.Channa Jayasumana นักวิชาการชาวศรีลังกาที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร BMC ซึ่งเป็นวารสารเกี่ยวกับภาวะโรคไต พบว่าไกลโฟเซตสามารถจับตัวกับโลหะหนักได้ง่าย และเข้าไปสะสมในร่างกาย เมื่อเปรียบเทียบไตของผู้ป่วยกับคนปกติพบว่า ผู้ป่วยมีเนื้อเยื่อไตน้อยกว่าคนปกติมาก เนื่องจากสารนี้เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อไต ยิ่งไปกว่านั้นในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น สารไกลโฟเซตสามารถสะสมอยู่ในดินเป็นทศวรรษ ในแต่ละประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้นจึงจำเป็นต้องวิจัยหาระยะเวลาการสลายตัวของไกลโฟเซตเอง ไม่สามารถอ้างอิงจากงานวิจัยตะวันตกได้ (Jayasumana et al., 2015; Jayasumana et al., 2014; Jayasumana et al., 2013)
...
นอกจากนี้ ไกลโฟเซตจะทำให้การสังเคราะห์กรดอะมิโน Tryptophan, Phenylalanine และ Tyrosine ลดลง กรดอะมิโนเหล่านี้จำเป็นสําหรับการสร้างสารสื่อสัญญาณประสาทในสมอง Martinez และคณะ (2018) รายงานว่าไกลโฟเซตทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท monoaminergic ซึ่งมี Tryptophan, Phenylalanine และ Tyrosine เป็นสารตั้งต้น Aitibali et al. (2018) พบว่าการได้รับไกลโฟเซตเป็นระยะเวลานานจะทำให้หนู mice มีอาการ Anxiety และ depression
ไกลโฟเซตสามารถยับยั้งเอนไซม์ไซโตโครม P450 (CYP) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่สำคัญในการกำจัดพิษของสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น ไกลโฟเซตจึงมีความสามารถในการก่อโรค และความผิดปกติต่างๆ จากการที่เซลล์ทั่วร่างกายถูกทำลายและระบบเมตาบอลิซึมถูกรบกวน จึงเป็นหลักฐานตอกย้ำ...ความเชื่อมโยงการได้รับไกลโฟเซตกับโรคสมัยใหม่ที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน เบาหวาน ออทิสซึม อัลไซเมอร์ และมะเร็ง (Anthony et al., 2013)
หมอดื้อ