Credit : NASA
ระบบสุริยะก่อตัวเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อนโดยการยุบตัวของแกนกลางเมฆโมเลกุล ส่งผลให้เกิดการก่อตัวของจานฝุ่นก๊าซ โดยจานฝุ่นก๊าซนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นระบบดาวเคราะห์ ประกอบด้วยดาวฤกษ์ที่ศูนย์กลางคือดวงอาทิตย์ 1 ดวง ล้อมรอบด้วยดาวเคราะห์ชั้นใน 4 ดวง และดาวเคราะห์ยักษ์ 4 ดวงในระบบสุริยะชั้นนอก นอกจากนี้ ก็ยังมีดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์แคระ และดาวหาง
แต่ความเป็นมาของการก่อตัวระบบสุริยะและดาวเคราะห์ยังเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์พยายามไขความกระจ่าง ซึ่งองค์ประกอบของไอโซโทปที่เป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุโดยมีจำนวนนิวตรอนแตกต่างกันของอุกกาบาตและดาวเคราะห์คล้ายโลก กลายเป็นเบาะแสสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เก่าที่สุดของระบบสุริยะ และกระบวนการก่อตัวดาวเคราะห์นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการลอเรนซ์ลิเวอร์มอร์ ในสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยมุนสเตอร์ ในเยอรมนี ได้ทบทวนงานเกี่ยวกับอุกกาบาตที่แสดงการแยกขั้วไอโซโทปพื้นฐานที่ไม่ได้ประกอบด้วยคาร์บอนและที่ประกอบด้วยคาร์บอน ที่ถือเป็นตัวแทนวัตถุจากระบบสุริยะทั้งด้านในและด้านนอก เพื่อทำความเข้าใจว่าระบบสุริยะวิวัฒนาการไปสู่สัณฐานในปัจจุบันอย่างไร
ทีมเผยว่าความก้าวหน้าการวิเคราะห์ล่าสุดในความแม่นยำของการวัดอัตราส่วนไอโซโทป ทำให้ไม่เพียงแต่จะพบอายุของอุกกาบาตที่แม่นยำ แต่ยังสามารถระบุสัญลักษณ์ไอโซโทปของนิวเคลียส สิ่งเหล่านี้ช่วยระบุการเชื่อมโยงทางพันธุกรรมระหว่างวัตถุจากดาวเคราะห์ ซึ่งอุกกาบาตส่วนใหญ่มาจากดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยหลักระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี.